วันเสาร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2552

ผู้จัดทำ

ผู้จัดทำ

นักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา รุ่นที่ 71
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 657

น.ส.คณัสวรรณ อัศวจงรัก
เลขที่ 6

น.ส.ตามกานต์ จรรยางค์ดีกุล
เลขที่ 10
น.ส.ทิพย์วารี เตชะณรงค์
เลขที่ 11

น.ส.ปิยวดี ประสงค์แสนสุข
เลขที่ 16

น.ส.วรันธร นนทนานันท์
เลขที่ 24

น.ส.อรปรียา นิลเสนา
เลขที่ 32

น.ส.อัญมณี ไชยยิ่ง
เลขที่ 34

นาย ศิวัชา ทรัพย์ปริญญาพร
เลขที่ 46

บทที่ 6 การรักษาดุลยภาพของร่างกาย



ส่วนประกอบของเซลล์
ส่วนที่ห่อหุ้มเซลล์ หมายถึง โครงสร้างที่ห่อหุ้มไซโทพลาซึมของเซลล์ให้คงรูปร่างและแสดงขอบเขตของเซลล์ ได้แก่ เยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane)เยื่อหุ้มเซลล์มีชื่อเรียกได้หลายอย่าง เช่น พลาสมา เมมเบรน (plasma membrane) ไซโทพลาสมิก เมมเบรน (cytoplasmic membrane) เยื่อหุ้มเซลล์มีความหนาประมาณ 75 : อังสตรอม ประกอบด้วยโปรตีนประมาณร้อยละ 60 ลิพิด ประมาณร้อยละ 40 การเรียงตัวของโปรตีนและลิพิดจัดเรียงตัวเป็นสารประกอบเชิงซ้อน การเรียงตัวในลักษณะเช่นนี้เรียกว่า ยูนิต เมมเบรน (unit membrane)


เซลล์พืช



เซลล์สัตว์




เยื่อหุ้มเซลล์มีหน้าที่หลายประการ คือ
1. ห่อหุ้มส่วนของโพรโทพลาซึมที่อยู่ข้างในทำให้เซลล์แต่ละเซลล์แยกออกจากัน
2. ช่วยควบคุมการเข้าออกของสารต่างๆ ระหว่างภายในเซลล์และสิ่งแวดล้อม มีคุณสมบัติเป็นเซมิเพอร์มีเอเบิล เมมเบรน (semipermeable membrane) ซึ่งจะยินยอมให้สารบางชนิดเท่านั้นที่ผ่านเข้าออกได้ ซึ่งการผ่านเข้าออกจะมีอัตราเร็วที่แตกต่างกัน
3. ความต่างศักย์ทางไฟฟ้า (electrical potential) ของภายในและภายนอกเซลล์เนื่องมาจากการกระจายของไอออนและโปรตีนไม่เท่ากัน ซึ่งมีความสำคัญในการนำสารพวกไอออนเข้าหรือออกจากเซลล์ ซึ่งมีความจำเป็นต่อการทำงานของเซลล์ประสาทและเซลล์กล้ามเนื้อมาก
4. เยื่อหุ้มเซลล์ทำหน้าที่รับสัมผัสสาร ทำให้เกิดการเร่งหรือลดการเกิดปฏิกิริยาเคมีภายในเซลล์นั้นๆ

นิวเคลียส (nucleus)เป็นโครงสร้างที่มักพบอยู่กลางเซลล์เมื่อย้อมสีจะติดสีเข้มทึบ มีลักษณะเป็นก้อนทึบแสงเด่นชัดอยู่บริเวณกลางๆ เซลล์โดยทั่วๆ ไปจะมี 1 นิวเคลียส เซลล์พารามีเซียม มี 2 นิวเคลียส นิวเคลียสมีความสำคัญเนื่องจากเป็นที่อยู่ของสารพันธุกรรม จึงมีหน้าที่ควบคุมการทำงานของเซลล์ โดยทำงานร่วมกับไซโทพลาซึม

ผนังเซลล์ (cell wall)ผนังเซลล์ พบได้ในสิ่งมีชีวิตหลากชนิด เช่น เซลล์พืช สาหร่าย แบคทีเรีย และรา ผนังเซลล์ทำหน้าที่ป้องกันและให้ความแข็งแรงแก่เซลล์ โดยที่ผนังเซลล์เป็นส่วนที่ไม่มีชีวิตของเซลล์



ไซโทพลาซึม (cytoplasm)เป็นของเหลวที่อยู่นอกนิวเคลียส อยู่ภายในเยื่อหุ้มเซลล์ ไซโทพลาซึม ซึ่งส่วนเหล่านี้ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบธรรมดา ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนจึงจะเห็น ซึ่งประกอบด้วย ไมโทคอนเดรีย กอลจิบอดี ไรโบโซม เซนทริโอล ร่างแห่เอนโดพลาซึม คลอโรพลาสต์ แวคิวโอล DNA RNA



หมายเหตุ คลอโรพลาสต์ ทำหน้าที่ในการสังเคราะห์แสง พบเฉพาะในเซลล์พืชเซนทริโอล ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนที่ พบเฉพาะในเซลล์สัตว์

การจัดระบบในร่างกาย ระบบอวัยวะต่างๆในร่างกาย คือ อวัยวะแต่ละชนิดทำหน้าที่เฉพาะอย่างแตกต่างกันไป อวัยวะที่ทำหน้าที่ประสานกันเพื่อกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งจะจัดเข้ากลุ่มด้วยกันเป็นระบบอวัยวะ มีด้วยกัน 10 ระบบ แต่ละระบบมีอวัยวะที่เกี่ยวข้องและมีหน้าที่ต่างๆกัน

ปัจจัยที่ทำให้เกิดดุลยภาพในร่างกาย
1. อาหารและโภชนาการ
2. การออกกำลังกายและการเล่นกีฬา
3. การพักผ่อน
4. การหลีกเลี่ยงโรคภัยไข้เจ็บและสิ่งเสพติด
5. การจัดการกับความเครียด
ปัจจัยที่ทำให้เกิดดุลยภาพของสัตว์
1. ภัยธรรมชาติ
2. อาหาร
3. ศัตรู
4. แหล่งที่อยู่
5. สภาพแวดล้อม
ปัจจัยที่ทำให้เกิดดุลยภาพของพืช
1. น้ำ
2. อุณหภูมิ
3. ความเป็นกรด-เบส
4. ปริมาณและชนิดของเกลือแร่ในน้ำ
5. แสง
6. ปุ๋ย

บทที่ 5 เคมีที่เป็นพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต

สิ่งมีชีวิตในโลกมีรูปร่างและโครงสร้างแตกต่างกันมากมาย เช่น พืช สัตว์ ทำให้เราสามารถแยกสิ่งมีชีวิตเป็นชนิดต่างๆ ได้ แต่ว่าถึงแม้จะแตกต่างกัน สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นก็ล้วนประกอบขึ้นด้วยหน่วยพื้นฐานที่เล็กที่สุดเรียกว่า เซลล์ ภายในเซลล์ทุกชนิดมีโครงสร้าง ที่ประกอบด้วยโมเลกุลของสารเคมีหลายชนิด โมเลกุลของสารเหล่านี้เกิดจากโครสร้างพื้นฐานที่เล็กที่สุด คืออะตอมธาตุที่พบมากได้แก่ คาร์บอน ไฮโดรเจน ไนโตรเจน ออกซิเจน ซึ่งมีการรวมกันเป็นโมเลกุล โมเลกุลบางชนิดมีขนาดใหญ่มาก เช่น โปรตีน ลิพิด คาร์โบไฮเดรตและกรดนิวคลีอิก เป็นต้น ประกอบกันเป็นโครงสร้างที่ทำหน้าที่ต่างกัน สารต่างๆ ในร่างกายของเรามีโครงสร้างที่เหมือนกันหรือแตกต่างกันอย่างไร โครงสร้างของสารเหล่านี้มีผลต่อการทำงานของเซลล์หรือไม่ อย่างไร และสารเหล่านี้มีการสลายตัวและมีการรวมตัวกันเป็นสารชนิดใหม่ได้อย่างไร คำถามที่กล่าวมานี้นักเรียนจะได้ศึกษาเพื่อค้นหาคำตอบจากบทเรียนนี้

นักวิทยาศาสตร์มีความสนใจที่จะศึกษาว่าสิ่งมีชีวิตประกอบด้วยสารใดบ้าง มากน้อยแค่ไหน จากการศึกษาพบว่าเซลล์ในร่างกายของคนประกอบด้วยสารหลายชนิด และสารเหล่านี้มีปริมาณที่แตกต่างกันดังภาพที่ 1 ในสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน จะมีปริมาณของสารแตกต่างกัน เช่น พืชและสัตว์ก็จะมีปริมาณของสารต่างๆ ไม่เท่ากัน นอกจากนี้ยังพบว่าสารเหล่านี้ บางประเภทมีธาตุไฮโดรเจนและคาร์บอนเป็นองค์ประกอบและบางประเภทไม่มี นักวิทยาศาสตร์จึงได้จำแนกสารออกได้เป็น 2 ประเภท คือ สารอนินทรีย์ (inorganic substance) เช่น แป้ง ไกลโคเจน เซลลูโลส น้ำตาล วิตามิน ลิพิด โปรตีน และกรดนิวคลีอิก เป็นต้น ซึ่งเป็นสารที่มีธาตุคาร์บอนและไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบ สารอนินทรีย์

สารอนินทรีย์ที่เป็นองค์ประกอบของเซลล์ของสิ่งมีชีวิตหลายชนิด สารบางอย่างมีปริมาณมาก เช่น น้ำบางอย่างมีปริมาณน้อยแต่ล้วนมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของเซลล์ นักเรียนจะได้ศึกษาต่อไป
สารอินทรีย์ จากที่กล่าวมาแล้วว่า สารอินทรีย์เป็นสารที่มีธาตุคาร์บอนและไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบ นอกจากนี้สารอินทรีย์ส่วนใหญ่ ยังมีธาตุออกซิเจนเป็นองค์ประกอบ และสารอินทรีย์บางชนิดอาจมีไนโตรเจนฟอสฟอรัส และกำมะถันเป็นองค์ประกอบอยู่ด้วย สารอินทรีย์ที่พบในสิ่งมีชีวิต เรียกว่า สารชีวโมเลกุล (biological molecule) สารอินทรีย์




จากที่กล่าวมาแล้วว่า สารอินทรีย์เป็นสารที่มีธาตุคาร์บอนและไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบ นอกจากนี้สารอินทรีย์ส่วนใหญ่ ยังมีธาตุออกซิเจนเป็นองค์ประกอบ และสารอินทรีย์บางชนิดอาจมีไนโตรเจนฟอสฟอรัส และกำมะถันเป็นองค์ประกอบอยู่ด้วย สารอินทรีย์ที่พบในสิ่งมีชีวิต เรียกว่า สารชีวโมเลกุล (biological molecule) นักเรียนสงสัยหรือไม่ว่า ธาตุคาร์บอนและไฮโดรเจนรวมตัวกับธาตุอื่นก่อให้เกิดสารอินทรีย์อะไรบ้างอย่างไร คาร์บอนมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 4 การรวมกับอะตอมของธาตุอื่น เกิดขึ้นจากการสร้างพันธะโคเวลนท์ โดยการใช้อิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ ซึ่งเป็นได้ทั้งพันธะเดี่ยว พันธะคู่ และพันธะสาม เช่น การสร้างพันธะเดี่ยวของอีเทน พันธะคู่ของเอทิลีน และพันธะสามของอะเซทิลีน
คาร์โบไฮเดรต เป็นสารอินทรีย์ที่ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจนและออกซิเจน มีอัตราส่วนของอะตอมไฮโดรเจนต่อ ออกซิเจนเท่ากับ 2 :1 และมีสูตรโมเลกุลทั่วไปเป็น (CH2O)n โดย n มีค่าตั้งแต่ 3 ขึ้นคาร์โบไฮเดรตที่เรารู้จักกันดีคือ น้ำตาลชนิดต่างๆ และแป้ง สามารถแบ่งคาร์โบไฮเดรตตามขนาดของโมเลกุลได้เป็น 3 พวก ใหญ่ๆ คือ มอโนแซ็กคาไรด์ (monosaccharide) โอลิโกแซ็กคาไรด์ (oligosaccharide) และพอลิแซ็กคาไรด์ (polysaccharide)



โปรตีน เป็นสารชีวโมเลกุลขนาดใหญ่ประกอบขึ้นจากหน่วยย่อยๆ ที่เรียกว่า กรดอะมิโน (amino acid) ซึ่งประกอบด้วยอะตอมของธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจนและไนโตรเจน นอกจากนี้ โปรตีนบางชนิดอาจประกอบด้วยอะตอมของธาตุอื่นๆ อีกเช่น ฟอสฟอรัส เหล็กและกำมะถัน เป็นต้น กรดอะมิโน หมายถึง สารอินทรีย์ที่มีหมู่คาร์บอนิล (- COOH) และหมู่อะมิโน (- NH2) รวมอยู่ในโมเลกุลเดียวกัน กรดอะมิโนส่วนใหญ่จะเป็น - amino acid R อาจจะเป็นไฮโดรเจน , หมู่อัลคิล ทั้งที่เป็นไฮโดรคาร์บอนแบบโซ่ตรงและโซ่กิ่ง ไฮโดรคาร์บอนที่เป็นวงแหวน หรือเป็นสารอินทรีย์ที่มีธาตุอื่น ๆ เช่น S และ P อยู่ด้วยก็ได้ จำนวนหมู่ -COOH และ - NH2 ในกรดอะมิโนจะมีมากกว่า 1 หมู่ก็ได้ กรดอะมิโนประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนในกรอบสี่เหลี่ยมซึ่งเหมือนกันในกรดอะมิโนทุกชนิด ส่วนที่อยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมจะประกอบด้วยหมู่อะมิโนและหมู่คาร์บอกซิลส่วนที่อยู่นอกกรอบสี่เหลี่ยมจะเป็นส่วนที่แตกต่างกันระหว่างกรดอะมิโนชนิดต่างๆ ซึ่งปกติจะใช้สัญลักษณ์ R

จากการศึกษากรดอะมิโนในพืชและสัตว์นักวิทยาศาสตร์พบว่า มีกรดอะมิโนอยู่ประมาณ 20 ชนิด ที่เป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ของสิ่งมีชีวิตทั่วไป สิ่งมีชีวิตใช้กรดอะมิโนเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์โปรตีน กรดอะมิโนบางชนิด เช่น ไกลซีน แอสปาราจีน และกรดกลูตามิก เป็นต้น ร่างกายสามารถสังเคราะห์ขึ้นได้เอง แต่มีกรดอะมิโนบางชนิดร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้ ต้องรับจากภายนอกเข้าไป มีทั้งสิ้น 8 ชนิดรวมเรียกว่า “กรดอะมิโนจำเป็น” (essential amino acid) เป็นกรดอะมิโนที่จำเป็นสำหรับมนุษย์ ได้แก่ เมไทโอนีน ,ทรีโอนีน , ไลซีน , เวลีน , ลิวซีน , ไอโซลิวซีน ,เฟนิลอะลานีน และทริปโตเฟน สำหรับเด็กทารกยังต้องการฮิสติดีนเพิ่มขึ้นอีก 1 ชนิด ซึ่งจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโต สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีความต้องการกรดอะมิโนไม่เหมือนกัน เช่น แบคทีเรียบางชนิดสามารถสร้างกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตได้เอง ทำให้ไม่ต้องการกรดอะมิโนในรูปของสารอาหาร กรดอะมิโนที่ร่างกายต้องการและสังเคราะห์ขึ้นเองไม่ได้ต้องได้รับจากอาหาร เรียกว่า กรดอะมิโนที่จำเป็น ดังตารางที่ 3 ส่วนกรดอะมิโนที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ได้เอง เรียกว่า กรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น แต่ถึงอย่างไรร่างกายของคนเราก็ต้องการกรดอะมิโนทั้งสองชนิด คนเราต้องการกรดอะมิโนที่จำเป็น 8-10 ชนิด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับช่วงอายุ
อาร์จีนีนและฮีสทิดีน เป็นกรดอะมิโนที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโต และพัฒนาการในวัยเด็ก กรดอะมิโนแต่ละชนิดสามารถต่อกันได้ด้วยพันธะโคเวเลนที่มีชื่อเฉพาะว่า พันธะเพปไทด์ (peptide bond) โครงสร้างซึ่งประกอบด้วยกรดอะมิโนที่ต่อกันเป็นสายนี้เรียกว่า เพปไทด์
โมเลกุลของฮีโมโกลบิน การที่โปรตีนแต่ละชนิดมีสมบัติแตกต่างกัน เนื่องจากมีลำดับของการเรียงตัวและจำนวนกรดอะมิโนแตกต่างกัน หน้าที่ของโปรตีนภายในเซลล์จึงมีความหลากหลาย บางชนิดทำหน้าที่เป็นโครงสร้างของเซลล์ เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเคมีภายในเซลล์ ควบคุมการทำงานของร่างกาย ทำหน้าที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน เป็นต้น ในสิ่งมีชีวิตต่างๆ โปรตีนที่มีหน้าที่คล้ายกันจะมีลำดับของกรดอะมิโนบางส่วนคล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสิ่งมีชีวิตที่มีบรรพบุรุษร่วมกัน ประเภทของโปรตีน การที่โปรตีนเกิดจากกรดอะมิโนเชื่อมต่อกันด้วยพันธะเพปไทด์จำนวนมาก กรดอะมิโนเหล่านี้ต่อกันในลักษณะต่าง ๆ ทำให้เกิดโครงสร้างสามมิติ จึงอาจแบ่งโปรตีนออกเป็น 2 ลักษณะคือโปรตีนเส้นใย และโปรตีนก้อนกลม เช่น เคราตินเป็นโปรตีนที่พบในขนสัตว์ เขาสัตว์ เส้นผม และเล็บ เป็นพวกโปรตีนเส้นใย คอลลาเจน ซึ่งเป็นส่วนประกอบในเนื้อเยื่อของสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังก็เป็นโปรตีนเส้นใย ส่วนเอมไซม์ แอนติบอดี ฮอร์โมน และฮีโมโกลบิน เป็นโปรตีนก้อนกลม ความสำคัญของโปรตีนต่อร่างกาย โปรตีนเป็นอาหารที่สำคัญและจำเป็นต่อร่างกายเช่นเดียวกับคาร์โบไฮเดรตและไขมัน โปรตีนที่รู้จักกันดี ได้แก่ อัลบูมิน (albumin) และ เจลลาติน (gelatin) เมื่อร่างกายได้รับโปรตีนเข้าไปจะเกิดปฏิกิริยาไฮโดรไลซิส โดยมีเอมไซม์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ได้เป็นกรดอะมิโนซึ่งเป็นโมเลกุลที่เล็กที่สุด และเป็นส่วนประกอบที่ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้ โปรตีนนอกจากจะเป็นแหล่งพลังงานและช่วยทำให้ร่างกายเจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอแล้ว ยังพบว่าโปรตีนยังมีหน้าที่สำคัญอื่น ๆ ในร่างกายอีก โดยขึ้นอยู่กับชนิดของโปรตีน เช่น ไมโอซิน (myosin) เป็นส่วนของกล้ามเนื้อ คอลลาเจน (collagen) เป็นส่วนของเอ็นซึ่งช่วยในการเคลื่อนไหว เปปซิน (pepsin) เป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาการเกิดไฮโดรลิซิสของโปรตีน ฮีโมโกลบิน (haemoglobin) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่นำออกซิเจน จากปอดผ่านเส้นโลหิตไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โกลบูลิน (globulin) อยู่ในโลหิตทำหน้าที่เป็นแอนติบอดี (antibody) อินซูลิน (insulin) ทำหน้าที่เป็นฮอร์โมนควบคุมกระบวนการเมตาบอลิซึมในร่างกาย นอกจากนี้โปรตีนยังเป็นส่วนประกอบของผิวหนัง ผม และเล็บ สรุปหน้าที่ของโปรตีน
1. ช่วยในการเจริญเติบโต
2. เป็นเหล่งพลังงาน
3. ทำหน้าที่เอนไซม์เร่งให้เกิดปฏิกิริยาเตมีภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
4. เป็นโครงสร้างของเซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์ เป็นองค์ประกอบของโครโมโซม
5. เป็นภูมิคุ้มกันของร่างกาย
ลิพิด เป็นสารประกอบที่ละลายได้น้อยในน้ำ แต่ละลายได้ดีในตัวทำละลายที่เป็นสารอินทรีย์ เช่น อีเทอร์ เบนซีน คลอโรฟอร์มและเอทานอล เป็นต้น ลิพิดประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจนและออกซิเจน แต่มีอัตราส่วนจำนวนอะตอมของไฮโดรเจนต่อออกซิเจนไม่เท่ากับ 2: 1 เหมือนคาร์โบไฮเดรต ลิพิดมีหลายชนิด เช่น ไขมัน (fat) น้ำมัน (oil) ฟอสโฟลิพิด (phospholipid) ไข (wax) และสเตรอยด์ (steroid) ลิพิดมีโครงสร้างพื้นฐานทางเคมีหลายแบบ
ลิพิดให้พลังงานมากกว่าคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนที่มีน้ำหนักเท่ากัน และยังป้องกันการสูญเสียน้ำ เป็นฉนวนช่วยควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย และป้องกันการกระทบกระแทกของอวัยวะภายใน

ลิพิด แบ่งตามโครงสร้าง ได้เป็น 3 ชนิด คือ ลิพิดเชิงเดี่ยว (simple lipid) ลิพิดเชิงซ้อน (complex lipid) และอนุพันธ์ลิพิด (derived lipid)

กรดนิวคลีอิก (nucleic acid) เป็นสารชีวโมเลกุลที่มีขนาดใหญ่ทำหน้าที่เก็บและถ่ายทอด ข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต จากรุ่นหนึ่งไปยังรุ่นต่อไปให้แสดงลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตและกระบวนการต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตกรดนิงคลีอิกมี 2 ชนิดคือ
DNA (deoxyribonucleic acid) และ RNA (ribonucleic acid) โมเลกุลของกรดนิวคลีอิก ประกอบด้วยหน่วยย่อยที่เรียกว่า นิวคลีโอไทด์ (nucleotide)
ก. โมเลกุลของนิวคลีโอไทด์ประกอบด้วยส่วนย่อย 3 ส่วน ได้แก่ หมู่ฟอสเฟต น้ำตาลที่มีคาร์บอน 5 อะตอม และเบสที่มีไนโตรเจนเป็นองค์ประกอบนิงคลีโอไทด์มีอยู่ด้วยกัน 5 ชนิด แตกต่างกันตามส่วนประกอบที่เป็นเบส
นอกจากนี้นิวคลีโอไทด์ยังเป็นสารให้พลังงาน เช่น ATP (adenosine triphosphate) นิวคลีโอไทด์จะเรียงตัวต่อกันเป็นสายยาว เรียกว่า พอลินิวคลีโอไทด์ (polynucletide) โมเลกุล DNAประกอบด้วยพอลินิวคลีโอไทด์ 2 สาย เรียงตัวสลับทิศทางกันและมีส่วนของเบสเชื่อมต่อกันด้วยพันธะไฮโดรเจน โมเลกุลบิดเป็นเกลียวคล้ายบันไดเวียนส่วน RNA เป็นพอลินิวคลีโอไทด์เพียงสายเดียว DNA และ RNA มีน้ำตาลที่เป็นองค์ประกอบต่างกัน ใน DNA เป็นน้ำตาลดีออกซีไรโบส (deoxyribose sugar) ส่วนใน RNA เป็นน้ำตาลไรโบส (ribose sugar) เบสที่พบใน DNA และ RNA มีบางชนิดที่เหมือนกัน และบางชนิดต่างกัน ซึ่งนักเรียนจะได้ศึกษาในบทเรียนชีววิทยาต่อไป


วิตามิน หมายถึง กลุ่มของสารอินทรีย์ที่จำเป็นต่อการดำงรงชีวิตให้เป็นปกติอยู่ได้ วิตามินร่างกายต้องการเพียงเล็กน้อย แต่เนื่องจากร่างกายสังเคราะห์ไม่ได้จึงต้องได้รับจากอาหาร คำว่า วิตามิน (vitamin) มาจากคำว่า vita แปลว่า ชีวิต และคำว่าเอมีน (amine) ซึ่งพบเป็นสารตัวแรกและเข้าใจว่าวิตามินเป็นสารพวกเอมีน จึงใช้คำว่า vitamine ต่อมามีการค้นพบเพิ่มขึ้นและพบว่าวิตามินไม่ใช่สารเอมีนเสมอไป จึงตัด e ออกเหลือคำว่า vitamin

วิตามินเป็นสารชีวโมเลกุลที่จำเป็นต่อสิ่งมีชีวิต มีหน้าที่ควบคุมการทำงานต่างๆ ในร่างกายให้เป็นปกติ ร่างกายต้องการวิตามินในปริมาณที่น้อยมาก แต่ถ้าขาดไปจะทำให้มีอาการผิดปกติ วิตามินเป็นสารที่ไม่ให้พลังงานแก่ร่างกาย และไม่เป็นองค์ประกอบของเนื้อเยื่อร่างกาย แต่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญต่อการทำงานของโปรตีน และเอนไซม์ต่างๆ วิตามินจำแนกได้เป็น 2 ประเภท

วิตามินแต่ละประเภทที่พบยังแบ่งออกเป็นชนิดย่อยๆ ได้อีกหลายชนิด ชนิดที่พบมากที่สุด คือ วิตามิน บี (B complex) มีประมาณเกือบ 20 ชนิด แต่ที่ทราบสูตรโครงสร้างแล้วมีประมาณ 10 ชนิด เช่น วิตามิน B1 (thiamine) วิตามิน B2 (riboflavin) กรดโฟลิก (folic acid) ไนอะซิน (niacin) ไบโอทิน (biotin) วิตามิน B12 (conalamin หรือ cyanocobalamin) เป็นต้น สารอาหารเหล่านี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะถูกลำเลียงไปสู่เซลล์ซึ่งเซลล์นำสารอาหารไปใช้ในกระบวนการต่างๆ ซึ่งเป็นปฏิกิริยาเคมีในเซลล์ สิ่งที่น่าสงสัยคือ ปฏิกิริยาเคมีในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นได้อย่างไร วิตามิน เป็นสารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน ร่างกายต้องการวิตามินในปริมาณที่น้อยมากเมื่อเทียบกับความต้องการสารอาหารประเภทที่ให้พลังงาน แต่ร่างกายขาดวิตามินไม่ได้ ถ้าร่างกายขาดวิตามินจะทำให้ผิดปกติไปแต่ถ้าได้รับในปริมาณที่มากเกินไปจะเกิดโทษต่อร่างกาย ประโยชน์ของวิตามินที่มีต่อร่างกายมีดังนี้

1. ช่วยในการควบคุมอวัยวะต่าง ๆของร่างกายให้ทำหน้าที่ปกติ

2. ช่วยบำรุงผิวพรรณ ผม เหงือก และตาให้ดูสวยงามและสดชื่น

3. ช่วยสร้างเซลล์ให้เจริญเติบโตและเพิ่มความต้านทานโรคของร่างกาย
วิตามินแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ
1. พวกที่ละลายในไขมันได้แก่ วิตามินเอ วิตามิน อี วิตามินดีและวิตามิน เค

2. พวกที่ละลายในน้ำได้แก่ วิตามินบี วิตามินซี

บทที่ 4 อนุกรมวิธาน

ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต
1. อนุกรมวิธาน (Taxonomy หรือ Systematics)
อนุกรมวิธาน (Taxonomy หรือ Systematics) เป็นการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการจำ แนกพันธุ์
คือ การจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต ซึ่งจะศึกษาในด้านต่าง ๆ 3 ลักษณะ ได้แก่
1. การจัดจำ แนกสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ในลำ ดับขั้นต่าง ๆ (Classification)
2. การตรวจสอบหาชื่อวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องของสิ่งมีชีวิต (Identification)
3. การกำ หนดชื่อที่เป็นสากลของหมวดหมู่และชนิดของสิ่งมีชีวิต (Nomenclature)
2. ลำ ดับการจัดหมวดหมู่
2.1 การจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต
การจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต จะจัดเป็นลำ ดับขั้นโดยเริ่มด้วยการจัดเป็นหมวดหมู่
ใหญ่ก่อน แล้วแต่ละหมู่ใหญ่ก็จำ แนกออกไปเป็นหมู่ย่อยลงไปเรื่อย ๆ ในแต่ลำ ดับขั้น (taxon) จะมีชื่อ
เรียกกำ กับ ลำ ดับขั้นสูงสุดหรือหมู่ใหญ่ที่สุดของสิ่งมีชีวิต คือ อาณาจักร (Kingdom) รองลมาเป็นไฟลัม
(phylum) สำ หรับพืชใช้ดิวิชัน (Division) ไฟลัมหรือดิวิชันหนึ่ง ๆ แบ่งเป็นหลายคลาส (Class) แต่ละ
คลาสแบ่งเป็นหลาย ๆ ออร์เดอร์ (Order) ในแต่ละออร์เดอร์มีหลายแฟมิลี (Family) แฟมิลีหนึ่ง ๆ แบ่ง
เป็นหลายจีนัส (Genus) และในแต่ละจีนัสก็มีหลายสปิชีส์ (Species) ดังนั้น ลำ ดับขั้นของหมวดหมู่สิ่งมี
ชีวิต (taxonomic category) จะเขียนเรียงลำ ดับจากขั้นสูงสุดลดหลั่นมาขั้นตํ่าดังนี้
อาณาจักร (Kingdom)
ไฟลัมหรือดิวิชัน (Phylum or Division)
คลาส (Class)
ออร์เดอร์ (Order)
แฟมิลี (Family)
จีนัส (Genus)
สปิชีส์ (Species)





3. การตั้งชื่อสิ่งมีชีวิต ในการเรียกชื่อสิ่งมีชีวิต มีเรียกกัน 2 ชนิด คือ
3.1 ชื่อสามัญ (Common name)
ชื่อสามัญ (Common name) เป็นชื่อเรียกสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง ซึ่งแตกต่างกันไปตาม
ภาษาและท้องถิ่น และมักมีชื่อเรียกกันอย่างสับสน ก่อให้เกิดปัญหามากมาย เป็นต้นว่า “แมลงปอ”
ภาคเหนือเรียกว่า “แมงกะปี้” ภาคใต้เรียกว่า “แมงพี้” ภาคตะวันออก เรียกว่า “แมงฟ้า” “มะละกอ”
ภาคเหนือเรียก “บักก้วยเต้ด” ภาคใต้เรียก “ล่อกอ” ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียก “บักหุ่ง” เป็นต้น
3.2 ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name)
ชื่อวิทยาศาสตร์ (Scientific name) เป็นชื่อเฉพาะเพื่อใช้เรียกสิ่งมีชีวิตเป็นแบบ
สากล ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก ไม่ว่าชาติใดภาษาใดรู้จักกันโดยใช้ภาษาลาติน สำ หรับตั้งชื่อวิทยา
ศาสตร์

1. คาโรลัส ลินเนียส (Corolus Linnaeus) นักชีววิทยาชาวสวีเดนเป็นผู้ริเริ่มใน
การตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ให้กับสิ่งมีชีวิต เมื่อ พ.ศ. 2310 โดยเสนอให้ใช้ 2 ชื่อ (binomial nomenclature)
จึงได้รับการยกย่องเป็น “บิดาแห่งการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์”

2. เหตุที่ชื่อวิทยาศาสตร์ กำ หนดเป็นภาษาลาติน เพราะ
1) ภาษาลาตินนิยมใช้ในหมู่นักวิทยาศาสตร์ในสมัยของลินเนียสราวศตวรรษที่
17 และ 18
2) ภาษาลาตินเป็นภาษาที่ตายแล้ว ไม่ใช้เป็นภาษาพูด จึงมีความหมายไม่ค่อย
เปลี่ยนแปลง
3) หลักเกณฑ์การตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ ของสิ่งมีชีวิตในลำ ดับขั้นต่าง ๆ
3.1 ชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิต ต้องเป็นภาษาลาตินเสมอ หรือภาษาอื่นที่
เปลี่ยนแปลงมาเป็นภาษาลาติน
3.2 ชื่อวิทยาศาสตร์ของพืช และสัตว์จะเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกัน
3.3 ชื่อวิทยาศาสตร์ของพืชและสัตว์แต่ละหมวดหมู่จะมีชื่อที่ถูกต้องที่สุด
เพียงชื่อเดียวเรียกว่า correct name
3.4 ชื่อหมวดหมู่ทุกลำ ดับขั้น ตั้งแต่แฟมิลีลงไปจะต้องมีตัวอย่างต้นแบบ
ของสิ่งมีชีวิตนั้นประการพิจารณา
􀂊 ชื่อแฟมิลีของพืชจะลงท้ายด้วย -sceas
􀂊 ชื่อแฟมิลีของสัตว์จะลงท้ายด้วย -idao
3.5 ชื่อในลำ ดับขั้นจีนัส (genus) หรือ generic name การเขียนหรือการพิมพ์
ต้องขึ้นด้วยอักษรตัวใหญ่ และตามด้วยอักษรตัวเล็กเสมอ
3.6 ชื่อในลำ ดับขั้นสปีชีส์ (species) หรือ specific name จะต้องประกอบ
ด้วยคำ 2 คำ เสมอ โดยถือตาม Bionomial System อย่างเคร่งครัด
คำ แรกจะเป็นชื่อ genus ขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่ และคำ หลังเป็น
specific epither ขึ้นต้นด้วยอักษรตัวเล็ก ซึ่งมักจะเป็นคำ คุณศัพท์
แสดงลักษณะเด่น เช่น สี ถิ่น กำ เนิด รูปพรรณสัณฐาน บุคคลผู้ค้นพบ
หรือเป็นเกียรติแก่ผู้ตั้ง
3.7 ชื่อจีนัสเขียนขึ้นต้นด้วยอักษรตัวใหญ่และเอนหรือขีดเส้นใต้ชื่อเสมอ
ถ้าไม่เขียนเอน เช่น Anopheles หรือ Anopheles ชื่อระบุชนิด
(specific epithet) เขียนด้วยอักษรตัวเล็กและเอน หรือขีดเส้นใต้ชื่อ
ถ้าไม่เขียนตัวเอนเช่น anopheles sundaicus หรือ Anpheles sundaicus
การขีดใต้ต้องขีดแยก ห้ามขีดต่อเป็นเส้นเดียวกัน
3.8 ชื่อผู้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ ให้เขียนตามหลังชื่อ
วิทยาศาสตร์ด้วยตัวธรรมดา นำ ด้วยอักษรใหญ่ เช่น Anopheles
sundaicus Rodenwaldt ถ้าชื่อจีนัสถูกเปลี่ยนไปไม่ว่ากรณีใดก็ตาม
ชื่อผู้ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์คนแรกต้องเขียนไว้ในวงเล็บ
3.9 ถ้าสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน มีชื่อวิทยาศาสตร์หลายชื่อ เนื่องจาก
นักวิทยาศาสตร์ต่างคนต่างพบ แต่ไม่ทราบมีคนพบและตั้งชื่อไว้ก่อน
แล้ว และตั้งชื่อขึ้นมาใหม่ เช่น หางนกยูงไทย ลินเนียสตั้งชื่อก่อนว่า
Poinciana pulcherime Linn ต่อมา Swartz ตั้งชื่อเป็น Caesalpinla
pulcherima Swartz ในกรณีเช่นนี้ชื่อหลังต้องยกเลิกไป
3.10 ชื่อวิทยาศาสตร์ตามระบบ Trinomial Nomenclature มีชื่อที่ประกอบ
ด้วย 3 คำ ซึ่งระบบนี้จะแสดงถึงระดับซับสปีชีส์ (Subspecies หรือ
Variety
เช่น ยุงก้นปล่อง Anopheles balabecensis balabacensia
แบคทีเรีย Bacillus thuringlensis thuringiensis
แบคทีเรีย Bacillus thuringlensis israeiensis
นกกระจอกกลุ่มแม่นํ้าไนส์ Passer domesticus nitoticus
นกกระจอกยุโรป Passer domesticus domesticus

อาณาจักรของสิ่งมีชีวิต

วิทเทเคอร์ (Whittaker, 1969) แบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็น 5 อาณาจักร โดยแยกเอาเห็ดราออกมาจาก

อาณาจักรโพรติสตา โดยยึดวิถีการได้รับสารอาหารเป็นเกณฑ์ ดังนี้
1. อาณาจักรโมเนอรา (Kingdom Monera) ได้แก่ แบคทีเรีย และสาหร่ายสีเขียวแกมนํ้าเงิน
2. อาณาจักรโพรติสตา (Kingdom Protista) ได้แก่ โพรโตซัวและสาหร่ายบางพวก
3. อาณาจักรฟันไจ (Kingdom Fungi) ได้แก่ เห็ดราต่าง ๆ ราเมือก
4. อาณาจักรพืช (Kingdom Plantae) ได้แก่ พืชมีท่อลำ เลียง และไม่มีท่อลำ เลียง สาหร่าย
5. อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia) ได้แก่ สัตว์ชนิดต่าง ๆ

อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia)
ลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่จัดไว้ในอาณาจักรสัตว์
1. ประกอบด้วยเซลล์ประเภทยูคาริโอติก (Eucaryotic cell) สำ หรับเซลล์ประเภทยูคาริโอติกนี้เป็น
เซลล์ที่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียสและมีออร์กาเนลล์ต่าง ๆ ของเซลล์ เช่น ไมโทคอนเตรีย และโรโบโซม ฯลฯ
2. ประกอบด้วยเซลล์หลายเซลล์ (multicellular) รวมกลุ่มกันเป็นเนื้อเยื่อ (tissue) สำ หรับลักษณะ
ข้อนี้หมายถึงว่ากลุ่มเซลล์ที่มารวมกลุ่มกันนั้นมีการเปลี่ยนแปลงสภาพของเซลล์ (Differentiation) และจัด
เรียงตัวเป็นเนื้อเยื่อโดยรวมกันทำ หน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ
3. มีระยะตัวอ่อน (Embryo) ซึ่งหมายถึงว่าภายหลังการปฏิสนธิแล้ว ไซโกตจะเจริญเติบโต
ขึ้นมาโดยจะมีการเจริญในระยะตัวอ่อนอยู่ช่วงหนึ่ง ก่อนที่จะพัฒนาไปเป็นตัวเต็มวัย
4. ประกอบด้วยเซลล์ซึ่งไม่มีผนังเซลล์ (cell wall) และไม่มีคลอโรพลาสต์ ดังนั้นจึงสร้างอาหาร
เองไม่ได้ ต้องอาศัยสารอินทรีย์โดยการกินสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น อาจจะกินพืชหรือกินสัตว์ด้วยกันก็ตาม
จึงได้ชื่อว่าเป็นพวก เฮเทอโรทรอฟิก ออร์แกนิซึม (Heterotrophic organism)
5. ส่วนมากสามารถเคลื่อนที่ได้รวดเร็วหรือเชื่องช้าก็ตาม แต่จะแลเห็นได้ชัดเจนว่าเคลื่อนที่ได้
โดยอาจเคลื่อนที่ได้ตลอดชีวิตหรือบางชนิดเคลื่อนที่ได้ในระยะตัวอ่อน เมื่อเป็นตัวเต็มวัยแล้วเกาะอยู่กับที่
เช่น ฟองนํ้า, ปะการัง, กัลปังหา และโอบิเลีย เป็นต้น
6. ส่วนมากจะมีความสามารถในการตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้อย่างรวดเร็วเนื่องมาจากมีอวัยวะรับ
ความรู้สึกและตอบสนองสิ่งเร้าโดยเฉพาะ

เกณฑ์เฉพาะในการจัดจำ แนกสัตว์
ในการจัดจำ แนกสัตว์ออกเป็นไฟลัมต่าง ๆ นั้นได้อาศัยเกณฑ์เฉพาะหลายประการในการจัดจำ แนก
ซึ่งได้แก่
1. พิจารณาจากจำ นวนชั้นของเนื้อเยื่อ (germ layer) ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
1.1 สัตว์ที่มีเนื้อเยื่อ 2 ชั้น (Diploblastica animals) ซึ่งประกอบด้วยเนื้อเยื่อชั้นนอก
(ectoderm) และเนื้อเยื่อชั้นใน (endoderm) ได้แก่ สัตว์พวกซีเลนเตอเรต สำ หรับพวกฟองนํ้าแม้ว่าจะไม่มี
เนื้อเยื่อ ectoderm และ endoderm ที่แท้จริงแต่เนื้อเยื่อชั้นในก็ประกอบไปด้วยเซลล์พิเศษ เรียกว่า เซลล์
คอลลาร์ (collar cell) และเยื่อชั้นนอกเป็นเยื่อบุผิวจึงจัดว่ามีเนื้อเยื่อ 2 ชั้นด้วยก็ได้ แต่ก็มีบางท่านมีความ
เห็นว่าไม่ควรถือว่ามีเนื้อเยื่อ 2 ชั้นก็มี
1.2 สัตว์ที่มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น (Triploblastica animals) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อชั้นนอก (ectoderm)
ชั้นกลาง (mesoderm) และชั้นใน (endoderm) ได้แก่ สัตว์ตั้งแต่พวกหนอนตัวแบนขึ้นไป จนถึงพวกมี
กระดูกสันหลัง
2. พิจารณาช่องในลำ ตัว (coelom) ซึ่งช่องลำ ตัวนี้เป็นช่องที่เกิดจากการแยกตัวของเนื้อเยื่อพบใน
สัตว์ที่มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้นเท่านั้น จากการพิจารณาเกณฑ์นี้จึงจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ
2.1 สัตว์ที่ไม่มีช่องในลำ ตัว (Acoelomate animal) จะพบว่าเนื้อเยื่อชั้นกลางประกอบด้วยเซลล์
บรรจุอยู่เต็มไปหมด ได้แก่ พวกหนอนตัวแบน (Phylum Platyhelminthes)
2.2 สัตว์ที่มีช่องลำ ตัวแบบเทียม (Pscudococlomate animal) ช่องลำ ตัวแบบนี้เป็นช่องที่อยู่
ระหว่างเนื้อเยื่อชั้นกลางกับเนื้อเยื่อชั้นในหรือระหว่างเนื้อเยื่อชั้นกลางกับเนื้อเยื่อชั้นนอก ได้แก่ พวกหนอน
ตัวกลม (Phylum Nemathelminthes)
2.3 สัตว์ที่มีช่องลำ ตัวแบบแท้ (Eucoelomate animal) ช่องลำ ตัวแบบนี้เกิดจากเนื้อเยื่อชั้นกลาง
แยกตัวออกเป็นช่อง ได้แก่ พวกไส้เดือนดิน, สัตว์ที่มีขาเป็นข้อ (Arthropods) และสัตว์ชั้นสูง
3. พิจารณาจากลักษณะการมีระบบเลือด (circulatory system) ซึ่งจากเกณฑ์นี้จะแบ่งได้เป็น
กลุ่มดังนี้
3.1 สัตว์ที่ยังไม่มีระบบเลือด ได้แก่ พวกฟองนํ้า, ซีเลนเตอเรต, พวกหนอนตัวแบน และ
หนอนตัวกลม
3.2 สัตว์ที่มีระบบเลือดแบบวงจรเปิด (Open circulatory system) ได้แก่ พวกอาร์โธรพอด
พวกมอลลัสก์ และพวกดาวทะเล
3.3 สัตว์ที่มีระบบเลือดแบบวงจรปิด (Closed circulatory system) ได้แก่ พวกไส้เดือน
และสัตว์ชั้นสูง
4. พิจารณาจากลักษณะทางเดินอาหาร (Type of digestive tract) ซึ่งจากการพิจารณาจะพบว่า
มีทางเดินอาหารแบบต่าง ๆ คือ
4.1 ทางเดินอาหารชนิดไม่แท้จริง เป็นเพียงช่องแบบร่างแห (Channel network) มีลักษณะ
เป็นแต่เพียงทางผ่านของนํ้าจากภายนอกเข้าสู่ภายในลำ ตัวเท่านั้น พบในพวกฟองนํ้า ซึ่งอาจจะกล่าวว่ายัง
ไม่มีทางเดินอาหารก็ได้
4.2 ทางเดินอาหารแบบไม่สมบูรณ์ (incomplete digestive tract) ซึ่งมีลักษณะคล้ายถุง
มีช่องเปิดเพียงช่องเดียวเป็นทางเข้าของอาหาร และเป็นทางออกของกากอาหารไปด้วย ท่อทางเดินอาหาร
แบบนี้ อาจะเรียกว่าช่องกัสโตรวาสคิวลาร์ (Gastrovascular cavity) ก็ได้ พบในทางเดินอาหารของซีเลน
เทอเรตและพวกหนอนตัวแบน (ยกเว้นพยาธิตัวตืด)
4.3 ทางเดินอาหารแบบสมบูรณ์ (complete disgestive tract) เป็นทางเดินอาหารที่มีลักษณะ
เป็นท่อกลาง มีช่องเปิด 2 ทาง โดยช่องหนึ่งทำ หน้าที่เป็นทางเข้าออกของอาหาร และอีกช่องหนึ่งเป็น
ทางออกของกากอาหาร ได้แก่ ทางเดินอาหารของสัตว์พวกหนอนตัวกลม, ไส้เดือนดิน, พวกแมลง,
พวกหอย และสัตว์ชั้นสูง
5. พิจารณาจากลักษณะของสมมาตร (Symmetry) ซึ่งหมายถึงการตัดหรือผ่าออกในแนวใด
แนวหนึ่งแล้วทำ ให้ได้ส่วนที่เหมือนกันทุกประการ ซึ่งแบ่งออกเป็น
5.1 Asymmetry ซึ่งได้แก่ สัตว์จำ พวกฟองนํ้า สัตว์พวกนี้ไม่มีสมมาตรในระยะเป็นตัว
เต็มวัย โดยไม่สามารถตัดในแนวใด ๆ ที่จะทำ ให้ทั้ง 2 ซีก เหมือนกันทุกประการได้เลย
5.2 Radial Symmetry มีสมมาตรแบบรัศมี ซึ่งหมายถึง ถ้าตัดให้ผ่านจุดศูนย์กลางแล้ว
จะสามารถตัดได้ทุก ๆ แนวรัศมี ก็จะได้ 2 ซีกที่เหมือนกันเสมอ ได้แก่ พวกฟองนํ้าบางชนิด, ไฮดรา,
แมงกะพรุน และดาวทะเล
5.3 Bilateral symmetry ลักษณะนี้ สมมาตรแบบเหมือนกัน 2 ซีก คือ สามารถผ่าหรือ
ตัดแบงครึ่งร่างกายตามความยาวของลำ ตัวแล้วทำ ให้ 2 ข้างเหมือนกันทุกประการได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น
ได้แก่ พวกหนอนตัวแบน, หนอนตัวกลม, ไส้เดือนดิน, พวกแมลง, พวกหอย และสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง
6. พิจารณาว่าลำ ตัวมีการแบ่งเป็นปล้องหรือไม่ (Segmentation) ซึ่งมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ
6.1 ไม่มีการแบ่งเป็นปล้องที่แท้จริง (nonmetameric) กล่าวคือ มีการแบ่งเป็นปล้องเฉพาะ
ภายนอก เป็นการเกิดปล้องเฉพาะที่ส่วนผิวลำ ตัวเท่านั้น ไม่ได้เกิดตลอดตัว เรียกว่า nonmetameric
เช่น พวกพยาธิตัวตืด, หนอนตัวกลม, เอคไคโนเดิร์ม และพวกมอลลัสก์
6.2 การแบ่งเป็นปล้องอย่างแท้จริง (metameric) เป็นการเกิดปล้องขึ้นตลอดลำ ตัวทั้งภายนอก
และภายใน โดยเกิดปล้องจากเนื้อเยื่อชั้นกลาง ทำ ให้เนื้อเยื่อชั้นอื่นเกิดปล้องตามไปด้วย เช่น พวก
ไส้เดือนดิน กุ้ง ปู แมลง และสัตว์มีกระดูกสันหลัง
7. พิจารณาจากแกนพยุงร่างกาย โดยพิจารณาว่ามีโนโตคอร์ด (Notochord) ในระยะตัวอ่อน
(embryo) หรือไม่ และต่อมามีกระดูกสันหลังเป็นแกนพยุงร่างกายหรือไม่
8. พิจารณาจากแบบแผนการเจริญของตัวอ่อน (embryo) โดยศึกษาว่ามีช่องเหงือก (gill slit)
หรือไม่ในระยะใดระยะหนึ่งของชีวิต
9. พิจารณาจากสารเคมีที่สิ่งมีชีวิตสร้างขึ้น โดยเฉพาะโปรตีนในเชิงวิวัฒนาการของโปรตีน
(Protein evolution) เช่น สัตว์ที่มีความใกล้ชิดทางพันธุกรรม จะสามารถสร้างโปรตีนได้คล้าย ๆ กัน
อาณาจักรสัตว์ (Animal Kingdom)
แบ่งเป็น 9 ไฟลัม ดังนี้
1. Phylum Porifera
สัตว์ใน Phylum นี้คือ พวกฟองนํ้า (Sponge) เป็นสัตว์หลายเซลล์

ลักษณะสำ คัญ
1. ส่วนมากพบในนํ้าเค็ม เกาะตามก้อนหิน ในนํ้าจืด พบ 2 – 3 ชนิด
2. เคลื่อนที่ไม่ได้ เป็นพวก Sessile animal
3. ลำ ตัวเป็นโพรง มีรูพรุนทั่วตัว เรียก Pore หรือ Ostia มีช่องเปิดด้านบนเป็นทางนํ้าออก
เรียก Osculum

4. ประกอบด้วยผนัง 2 ชั้น เรียก Diploblastica คือชั้นนอก (Ectoderm) มีรูพรุนเล็ก ๆ มากมาย
เพื่อให้นํ้าเข้า และชั้นใน (Endoderm) มีเซลล์ลักษณะเป็นปลอก มีแฟลกเจลลัม เรียกว่า Collar cell
หรือ Choanocyte ระหว่างทั้ง 2 ชั้นมีเยื่อบาง ๆ เป็นวุ้น เรียก Mesogloea มีผนังด้านในมีเซลล์พิเศษ
ทำ หน้าที่ดูดอาหารเข้าเซลล์แล้วย่อยเรียก Choanocyte ซึ่งประกอบด้วย Flagellum และ Collar cell

5. เซลล์อยู่อย่างหลวม คงรูปอยู่ได้เพราะมีสปีคุล (spicule) คล้ายกระดูก ซึ่งมี 3 พวกโดยใช้
สารประกอบที่เป็นสปิคุลแยกเป็นเกณฑ์
1. Spicule แบบเส้นใยโปรตีน พบในฟองนํ้าถูกตัว (Spongin network)
2. Spicule พวก Silica (แก้ว)
3. Spicule พวก Caco3 (หินปูน)

6. เป็นพวกที่ไม่มีอวัยวะ จัดเป็นพวก Parazoa
7. อาหารสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ พวก Plankton ย่อยภายในเซลล์
8. การสืบพันธุ์ (Reproduction)

1. แบบไม่อาศัยเพศ (Asexual reproduction)
ก. แบบแตกหน่อเล็ก ๆ หรือสร้าง Gemmule
ข. แบบงอกใหม่ (Regeneration)

2. สืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (Sexual reproduction) โดยอาศัยสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ ปล่อย
ออกไปในนํ้าและว่ายเข้าไปในฟองนํ้าอีกตัวหนึ่ง เพื่อผสมกับไข่ เกิดการปฏิสนธิได้ไซโกตและเอมบริโอ
ซึ่งเคลื่อนที่ได้ แล้วจมลงเกาะวัตถุแล้วเจริญเป็นตัวใหม่

2. Phylum Coelenterata
เป็นสัตว์นํ้าทั้งหมด ได้แก่ Hydra, แมงกะพรุน, ดอกไม้ทะเล, ปะการัง, กัลปังหา, ตะละปัดทะเล
ลักษณะ
1. มีหนวด (Tentacle) ที่หนวดมีเข็มพิษ เรียก Nematocyst อยู่ในถุง Cnidoblast ใช้
จับเหยื่อ ป้องกันศัตรู
2. ลำ ตัวกลวง ทำ หน้าที่เป็นทางเดินอาหาร ย่อยอาหาร และขับถ่ายของเสีย เรียกว่า
Gastrovascular Cavity (Enteron)
3. เป็นพวก Diploblastica
4. มีระบบประสาททั่วลำ ตัว Nerve net
5. ช่องเปิดทางเดียวเป็นปากและทวารหนัก
6. รูปร่าง 2 แบบ
ก. คล้ายต้นไม้ เรียก Polyp
ข. แบบกระดิ่ง เรียก Medusa
7. มีสมมาตรแบบ Radial Symmetry

ตัวอย่าง Hydra
กินอาหาร มีการย่อย 2 แบบ
1. ย่อยภายนอกเซลล์
ไรแดง→ Enteron →นํ้าย่อยจากชั้นในย่อย→ สารอาหาร→ ถูกดูดกลับ
2. ย่อยภายในเซลล์
อาหารเช้า→ Endoderm → เกิด Food Vacuole→ แล้วถูกนํ้าย่อยภายในเซลล์ย่อย
ที่อยู่ พบในนํ้าจืดตามจอก แหน
ลักษณะ รูปแบบ polyp มีขนาด 4 – 12 เส้น

เคลื่อนไหว
1. ตีลังกา
2. เขยิบ Basal disk
3. ปล่อยตัวลอยตามนํ้า

การสืบพันธุ์
1. Budding
2. Regeneration
3. แบบอาศัยเพศ เช่น Hydra เป็น Hermaphrodite (กระเทย)
4. สืบพันธุ์แบบสลับ (Alternation of generation หรือ Metagenesis)
3. Phylum Platyhelminthes
Platy = แบน
Helmins = หนอน

ตัวอย่าง
1. พวกเป็น Parasite คือ พยาธิต่าง ๆ
2. พวกดำ รงชีวิตเป็นอิสระในนํ้าจืด เช่น พลานาเรีย บนบก เช่น
หนอนหัวขวาน

ลักษณะสำคัญ
1. ร่างกายมีสมมาตรแบบ Bilateral Symmetry
2. ไม่มีข้อ ปล้อง ที่แท้จริง
3. มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น (Triploblastica)
4. พวก parasite มีอวัยวะยึดติดกับ host เรียก hook ส่วน Planaria
มี Cilia ใช้ในการเคลื่อนที่
5. มีปาก ไม่มีทวารหนัก ทางเดินอาหารไม่สมบูรณ์
6. ลำ ตัวไม่มีช่องว่าง (Coelom) ลำ ไส้มีแขนงทั่วลำ ตัว
7. มีระบบประสาทแบบสัตว์ชั้นตํ่า คือ มีเส้นประสาท 2 เส้นขนานกัน และ
มีเส้นเชื่อมลางแบบขั้นบันได มีปมประสาทใหญ่ 2 ปมอยู่ที่หัว

การขับถ่าย
โดยใช้ Flame cell ขับถ่ายของเสียที่เป็นของเหลวไม่มีทวารหนัก (ไม่ต้องย่อย)

การสืบพันธุ์
1. มีอวัยวะในตัวเดียวกันเป็น Hermaphrodite เวลาผสมพันธุ์อาจผสมในตัวเอง หรือข้ามตัว
ไข่จะหลุดภายนอกเจริญเป็นตัวอ่อนต่อไป
2. Regeneration โดยการงอกใหม่ เช่น Planaria

การหายใจ
ไม่มีอวัยวะหายใน ใช้การแพร่ก๊าซโดยตรงกับนํ้า ส่วน Parasite หายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจน

4. Phylum Nemthel minthes (Nematoda = thread)
พวกหนอนตัวกลม
ที่อยู่ พบในนํ้าจืด นํ้าเค็ม ในดินมีทั้ง Free living และ Parasite
ตัวอย่าง
1. พยาธิปากขอ
2. พยาธิเส้นด้าย
3. พยาธิตัวจี๊ด
4. พยาธิโรคเท้าช้าง
5. พยาธิไส้เดือน
6. หนอในนํ้าส้มสายชู
7. พยาธิแส้ม้า
8. ไส้เดือนฝอย

ลักษณะสำ คัญ
1. ลำ ตัวเรียวยาว ตัวเรียบ ไม่มีปล้อง ไม่มีระยางใด ๆ หัวท้ายแหลม
2. ผิวหนังมี Cuticle หนา
3. มีสมมาตรแบบ Bilateral Symmetry
4. เป็น triploblastica
5. มีช่องว่างในลำ ตัวแบบช่องเทียม (Pseudocoelom)
6. ไม่มีระบบหายใจ ไม่มีระบบหมุนเวียนเลือด
7. ทางเดินอาหารสมบูรณ์ รูเปิดทางปากและทวารหนักอยู่คนละปลาย
8. ระบบประสาท เป็นวงแหวนรอบหลอดคอติดต่อเส้นประสาท ตลอดลำ ตัว
9. เพศผู้และเพศเมีย แยกกัน เรียก Dioecious animal ตัวผู้ขนาดเล็กกว่าตัวเมีย
มีการผสมแบบภายในออกลูกเป็นไข่
10. ของเหลวภายในช่องเทียม (Pseudocoelom) ทำ หน้าที่นำ อาหารแพร่ไปสู่เซลล์
ทั่วร่างกาย

5. Phylum Annelida (ไฟลัมแอนนิลิดา)
ได้แก่ ไส้เดือนดิน ไส้เดือนทะเล ปลิง แม่เพรียง ทากดูดเลือด ตัวสงกรานต์
ลักษณะสำ คัญ
1. ส่วนใหญ่ลำ ตัวกลมยาวคล้ายวงแหวนต่อกันเป็นปล้อง หรือข้อที่แท้จริง คือ ร่างกาย
มีลักษณะเป็นปล้องทั้งภายในและภายนอก ในปล้องมีผนังกั้นเรียก Septum
2. ผัวหนังปกคลุมด้วยคิวติเคิล (Cuticle) บาง มีต่อมสร้างเมือก ทำ ให้ลำ ตัวชุ่มชื้นเสมอ
3. มีระยางมีลักษณะเป็นแท่งหรือเดือย (Sotae) ในแต่ละปล้องใช้ในการขุดรู และ
เคลื่อนที่
4. ลำ ตัวมีกล้ามเนื้อวงและกล้ามเนื้อตามยาว มี coelom ที่แท้จริงโดยมีเยื่อกั้นเป็นห้อง ๆ
5. ทางเดินอาหารสมบูรณ์เป็นท่อยาวตลอดลำ ตัว
6. เป็นสัตว์พวกแรกที่มีระบบหมุนเวียนโลหิตเป็นแบบปิด เลือดมีสีแดง โดยมีสาร
ฮีโมโกลบินละลายในนํ้าเลือด เม็ดเลือดสีขาว ไม่มีสี
7. หายใจทางผิวหนัง หรือเหงือก
8. ระบบขับถ่าย มีเนฟริเดียมปล้องละ 1 คู่ นำ ของเสียออกจากช่องตัวออกตามท่อเปิด
ออกภายนอก
9. ระบบประสาท มีปมประสาท 1 คู่ อยู่ที่ส่วนหัว เชื่อมไปยังเส้นประสาทกลางตัว
ด้านล่าง ซึ่งมีปมประสาททุกปล้อง อวัยวะรับความรู้สึกมีเซลล์รับสัมผัสกลิ่นและแสง
10. ระบบสืบพันธุ์มีทั้งแยกเพศกัน หรืออยู่ในตัวเดียวกัน เป็น Hermaphrodite แต่ไม่
สามารถผสมกันเองได้ เพราะเซลล์สืบพันธุ์สุกไม่พร้อมกัน ส่วนใหญ่ออกลูกเป็นไข่
แล้วเจริญเป็นตัวอ่อน
- บางพวกสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยการแตกหน่อ เช่น แม่เพรียง มีอวัยวะเพศผู้
และเพศเมียแยกกันและมีการปฏิสนธิภายนอก
- ไส้เดือนดินมีทั้งสองเพศในตัวเดียวกัน แต่การผสมพันธุ์เป็นแบบข้ามตัว และ
ปลิงนํ้าจืด (จัดเป็นแอนนีสิดที่มีการเจริญสูงสุด) มีสองเพศในตัวเดียวกัน
11. ร่างกายเป็น Bilateral Symmetry
12. เป็น Triploblastica Animal

6. Phylum Mollusca (ไฟลัมมอลลัสกา)
ได้แก่ หอย ปลาหมึก หอยงาช้าง และลิ้นทะเล พบทั้งบนบก นํ้าจืด และนํ้ากร่อย สัตว์ใน
ไฟลัมนี้มีมาก รองจากแมลง
ลักษณะสำ คัญ
1. ลำ ตัวนิ่ม สั้น ไม่เป็นปล้องปกคลุมด้วยแมนเติล (mantle) ซึ่งเป็นเยื่อทำ หน้าที่สร้าง
เปลือกแข็งพวกหินปูน และบางพวกไม่มีเลย
2. มีส่วนหัวด้านหน้า และด้านล่างเป็นแผ่นเท้าสำ หรับเคลื่อนที่ ขุดฝังตัว และว่ายนํ้า
3. ระบบทางเดินอาหารสมบูรณ์ มีปากและทวาร ช่องปากมีอวัยวะใช้สำ หรับดูดนํ้าและ
อาหารเข้าสู่ลำ ไส้ มีต่อมนํ้าลายและตับช่วยสร้างนํ้าย่อย
4. ระบบหมุนเวียนของเลือดเป็นระบบเปิด มีหัวใจและมีเส้นเลือดนำ ไปตามส่วนต่าง ๆ
5. ร่างกายเป็น Bilateral Symmetry ยกเว้นหอยกาบเดี่ยว
6. เป็น Triploblastica animal
7. กล้ามเนื้อด้านท้องแข็งแรง ทำ หน้าที่เป็นขา (Muscular foot)
8. หายใจด้วยเหงือก หรือ Mantle
9. เป็น Dioecious animal ออกลูกเป็นไข่
7. Phylum Echinodermata (ไฟลัมเอไคโนเดอร์มาตา)
ได้แก่ ดาวทะเล (starfist) หอยเม่น (sea urchin) ปลิงทะเล (sea cucumber) พลับพลึงทะเล
หรือบัวทะเล (sea lilies) ดาวเปราะ (serpent star) อีแปะทะเล (sand dollar) เป็นสัตว์นํ้าเค็ม ที่เกาะ
หรือฝังตัวอยู่ตามพื้นทราย หรือหินปะการัง
ลักษณะสำ คัญ
1. มีสมมาตรแบบรัศมี หรือ radial ตอนตัวเต็มวัย ตอนตัวอ่อนมีสมมาตรแบบ
Bilateral Symmetry
2. ลำ ตัวเป็น 5 แฉก หรือเป็นทวีคูณของ 5 แฉก ลำ ตัวขรุขระ บางชนิดมีหนามยื่น
ออกมา
3. โครงสร้างภายในเป็นแผ่นหินปูนยึดติดกัน ทำ ให้เคลื่อนไหวไม่ได้ หรือบางชนิดอาจ
เคลื่อนไหวได้
4. ทางเดินอาหารสมบูรณ์ ปากอยู่ด้านล่าง ทวารหนักเปิดทางด้านบน
5. ระบบหมุนเวียนเลือดแบบเปิด ไม่มีเลือด มี Coelomic fluid ทำ หน้าที่แทนเลือด
6. มีระบบนํ้าหมุนเวียนไปยังท่อขา (Tube feet) ซึ่งท่อขาช่วยในการเคลื่อนไหวและ
จับอาหาร
7. หายใจโดยใช้เหงือก ซึ่งเป็นถึงบาง ๆ ยื่นอกจาก coelom ออกมาทางผิวเพื่อ
แลกเปลี่ยนก๊าซ พวกปลิงทะเลมีอวัยวะหายใจแผ่ออกเป็นกิ่งสาขาอยู่ในตัว ติดกับ
ทวารหนัก
8. ระบบประสาท เป็นแบบวงแหวนรอบปาก มีแขนงไปยังส่วนต่าง ๆ ตามแนวรัศมี
9. ระบบสืบพันธุ์แยกเพศปฏิสนธิภายนอกในนํ้าทะเล บางพวกสืบพันธุ์แบบไม่อาศัย
เพศและสามารถงอกส่วนที่ขาดหายไปได้ (Regeneration)
10. ระบบขับถ่าย ไม่มีไต ใช้เซลล์อะมีโบไซท์ (amoenbocyte) ทำ หน้าที่กินของเสีย
คล้ายเม็ดเลือดสีขาว แล้วเคลื่อนตัวนำ ของเสียไปถ่ายออกที่ ractal caecum

8. Phylum Arthropoda (ไฟลัมอาร์โธรโปดา)
สัตว์ในไฟลัมนี้ ได้แก่ พวกกุ้ง กั้ง ปู เพรียง แมลง เห็บ ไร ตะขาบ กิ้งกือ สัตว์ในไฟลัมนี้
มีมากที่สุด
ลักษณะสำ คัญ
1. ลำ ตัวเป็นปล้องยึดติดกัน แบ่งเป็นส่วนหัว (head) อก (thora) และท้อง (abdomen)
หรือส่วนหัวรวมกับส่วนอก เรียกว่า (cephalothorex)
2. มีระยางเป็นข้อ ส่วนมากมีระยางปล้องละ 1 คู่
3. ลำ ตัวและระยางปกคลุมด้วยเปลือกหนาและแข็ง ซึ่งเป็นสารพวกไคติน จึงจัดเป็น
โครงร่างภายนอก (exoskeleton) เปลือกหนานี้สร้างจากผิวหนังและจะมีการสลัด
ส่วนเปลือกทิ้งเป็นระยะ ๆ เมื่อเติบโตขึ้น เรียกว่า การลอกคราบ (molting)
4. กล้ามเนื้อลำ ตัวเป็นกล้ามเนื้อที่ซับซ้อน ทำ งานได้รวดเร็ว ทำ ให้เคลื่อนไหวได้
รวดเร็วมาก
5. ระบบทางเดินอาหารสมบูรณ์ ปากมีขากรรไกรอยู่ด้านข้างสำ หรับขบเคี้ยวและแทงดูด
ในบางพวก
6. ระบบหมุนเวียนเลือดเป็นแบบเปิด มีหัวใจอยู่ด้านบน (dorsal) สูบฉีดโลหิตออกทาง
เส้นเลือด (artery) ไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ แล้วไหลกลับมาเข้าสู่หัวใจโดยผ่านฮีโมซิล
(haemocoel)
7. การหายใจพวกที่อยู่บนบกใช้ท่อลม (trachea) หรือแผงปอด (book lung) พวกที่อยู่
ในนํ้าใช้เหงือก
8. อวัยวะขับถ่ายมีท่อที่โคนขา (coxal gland) หรือ (green gland) ในพวกกุ้ง หรือท่อ
ขับถ่าย มัลพิเกียน ทูบูล (malphigian tubules)
9. ระบบประสาทมีปมประสาท 1 คู่ ด้านบนของหัว และมีเส้นประสาทเชื่อมโยง
รอบคอมาเชื่อมกับเส้นประสาทคู่ด้านท้อง ซึ่งจะมีปมประสาทอยู่ทุก ๆ ปล้อง อวัยวะ
รับความรู้สึกมีหนวดและขนใช้รับสัมผัสและรับสารเคมี มีตาเดี่ยว (simple eye) หรือ
ตาประกอบ (compound eyes) และบางพวกมีอวัยวะรับเสียง ได้แก่ พวกแมลง
บางพวกมีอวัยวะเกี่ยวกับการทรงตัว ได้แก่ พวกกุ้ง ปู
10. ส่วนใหญ่เป็นสัตว์แยกเพศ มีการปฏิสนธิภายใน (internaifertilization) ออกลูกเป็น
ไข่ตัวอ่อน มีหลายระยะ มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างจะเป็นตัวเต็มวัย ซึ่งเรียกว่า
มีเมตามอร์โซซิส ไข่บางชนิดเจริญได้โดยไม่ได้รับการปฏิสนธิ (Parthenongenesis)

สัตว์ในไฟลัมนี้จำ แนกออกเน 6 คลาส คือ

คลาสอะแรคนิดา (Class Arachnida)
เป็นสัตว์ในไฟลัม อาร์โทรโปดา ที่มีอยู่บนบกเป็นส่วนมาก มีส่วนน้อยที่เป็นสัตว์นํ้า สัตว์ใน
คลาสนี้ ไม่มีหนวด มีขา 4 คู่ ส่วนของร่างกายบริเวณหัวและอกจะเชื่อมติดกัน เรียกว่า เซฟาโลทอแรกซ์
(Cephalothorax) และส่วนท้อง (Abdomen) แยกออก หายใจทางท่อลม (Trachea) หรือลังบุค (Lung
book) หรือทั้งสองอย่าง สัตว์ในคลาสนี้แยกเพศ ตัวอย่างได้แมงมุม แมงป่อง เห็บ บึ้ง ฯลฯ สัตว์พวกนี้
มักเรียกว่าเป็น “แมง”

คลาสเมอโรสโตมาตา (Class Merostomata)
ได้แก่ แมงดาทะเล ดำ รงชีวิตอิสระในนํ้ากร่อย และนํ้าเค็ม ลำ ตัวสีนํ้าตาลเข้ม ส่วนหัวและส่วน
อกรวมเป็นส่วนเดียวกัน มีกระดองโค้งเป็นแผ่นแข็งคลุมร่างกายมีขาเดิน 5 คู่ มีตาประกอบ 2 คู่ ไม่มี
หนวด แยกเพศ ปัจจุบันมีแมงดาทะเลทั่วโลก เหลือเพียง 4 ชนิด ในประเทศไทยพบ 2 ชนิด คือ
แมงดาทะเลหางเหลี่ยม หรือแมงดาจาน และแมงดาทะเลหางกลม หรือแมงดาถ้วย หรือเรียกว่า เหรา ซึ่ง
แมงดาทะเลหางกลมอาจมีพิษ ดังนั้น การบริโภคจึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษอาหารของแมงดาทะเล คือ
ซากสัตว์ หอย และสาหร่ายทะเล

คลาสครัสเตเซีย (Class Crustacea)
อาร์โทรปอดในคลาสนี้อยู่ในนํ้าเป็นส่วนมาก มีตาประกอบ มีหนวด 2 คู่ มีขา 5 คู่ ระยางของ
สัตว์ในคลาสนี้มักแยกเป็น 2 แขนง ลำ ตัว ประกอบด้วยส่วนหัวเชื่อมติดกับส่วนอก ซึ่งเรียกว่า เซฟาโล
ทอแรกซ์ และมีส่วนท้องเรียกว่า แอบโดเมน (Abdomen) ส่วนมากหายใจด้วยเหงือก มีน้อยชนิดที่หายใจ
ด้วยผิว ลำ ตัว มีอวัยวะขับถ่ายเรียกว่า Green gland สัตว์ในคลาสนี้แยกเพศ ตัวอย่างเช่น กุ้งนํ้าจืด,
กุ้งทะเล, ปู, กั้ง, ไรนํ้า, เพรียงหิน ตัวกะปิ ฯลฯ

คลาสอินเซตา (Class insceta)
เป็นอาร์โทรปอดที่มีชนิดมากที่สุดในโลก มีประมาณ 1 ล้าน 5 แสนชนิด ได้แก่ พวกแมลง
ชนิดต่าง ๆ สัตว์ในคลาสนี้มีหนวด 1 คู่ มีขา 3 คู่ ไม่มีปีกหรือมีปีก 1 – 2 คู่ มีตาประกอบ ส่วนของ
ร่างกายแยกเป็น 3 ส่วนชัดเจน คือ หัว, อก และท้อง มีท่อลมเป็นอวัยวะหายใจ ไม่ต้องอาศัยรงควัตถุ
ในเลือดเพื่อลำ เลียงก๊าซ (no respiratory pigment) เพราะปลายสุดของแขนงท่อลมแทรกชิดเซลล์โดยตรง
มีรูหายใจ (spiracle) ที่ผนังลำ ตัวมากมาก ทำ ให้ทุกส่วนของลำ ตัวได้รับออกซิเจนได้โดยตรง และมีท่อ
มัลพิเกียน (Malpighian tubule) เป็นอวัยวะขับถ่าย มีการเจริญเติบโตของตัวอ่อนเป็น 4 แบบ ตัวอย่าง
ได้แก่ ตัวสามง่าม, ยุง, แมลงวัน, ผีเสื้อ, แมลงปอ, ปลวก, มด, จิ้งหรีด, ตั๊กแตน ฯลฯ

คลาสชิโลพิดา (Class Chilopoda)
สัตว์ในคลาสนี้ เรียกว่า เซนติปิด (Centipede) มีขาจำ นวนมากประมาณปล้องละ 1 คู่ ลำ ตัว
ประกอบด้วยส่วนหัว และลำ ตัวยาวของอกติดกับท้อง มีประมาณ 15 ถึง 173 ปล้อง ปล้องหัวมีระยาง
ที่มีพิษอยู่ 1 คู่ มีหนวด 1 คู่ มีตาเดียว เรียกว่า โอเซลลัส (Ocellus) หายใจทางท่อลม ตัวอย่างได้แก่
ตะขาบ ตะเข็บ กินแมลงเป็นอาหารหรืออาจกินซากเน่าเปื่อยเป็นอาหาร

คลาสไดโพลโพดา (Class Diplopada)
สัตว์ในคลาสนี้ เรียกว่า มิลลิปิด (Millipede) มีขาจำ นวนมาก ลำ ตัวค่อนข้างกลม ยาว ประกอบ
ด้วยส่วนหัว และส่วนอกสั้น ๆ และมีส่วนท้องกลมยาว ประกอบด้วยปล้องประมาณ 25 ถึงกว่า 100
ปล้อง มีขาปล้องละ 2 คู่ มีหนวด 1 คู่ หายใจทางท่อลม ไม่มีต่อมพิษ เป็นสัตว์บก ตัวอย่างได้แก่
กิ้งกือ กระสุน พระอินทร์

9. Phylum Chordata (ไฟลัมคอร์ดาตา)
ลักษณะสำ คัญร่วมกัน
1. มีโนโตคอร์ด (Notochord) อย่างน้อยชั่วระยะหนึ่งของชีวิต
2. มีไขสันหลังเป็นหลอดกลวงยาวอยู่ด้านหลัง
3. มีอวัยวะสำ หรับแลกเปลี่ยนก๊าซที่บริเวณคอหอยคือช่องเหงือก หรือที่เปลี่ยนแปลง
มาจากอวัยวะบริเวณคอหอย เช่น ปอด
4. มี coelom ในลำ ตัวด้วยมีโซเดิร์ม (mesoderm) ซึ่งภายในมีอวัยวะภายในต่าง ๆ อยู่
สัตว์ในไฟลัมนี้แบ่งเป็น 3 Subphylum ดังนี้ คือ
1) Subphylum Urochordata เป็นสัตว์นํ้าเค็ม อาจลอยนํ้าหรือว่ายนํ้าได้ มักอยู่ร่วมกัน
เป็นกลุ่มหรือบางชนิดอยู่โดดเดี่ยว มีการสร้างสารคลุมตัว เรียกว่า ทูนิต (tunic)
เป็นสารพวกเซลลูโลส coelom ไม่ชัดเจน ระบบหมุนเวียนเลือดแบบเปิดมีสองเพศ
ในตัวเดียวกัน ระยะตัวอ่อนมีทางว่ายนํ้า มีโนโตคอร์ดไขสันหลังบริเวณหาง เมื่อ
เป็นตัวเต็มวัยหางจะค่อย ๆ สลายไปจนในที่สุดไม่มีทาง เหลือส่วนไขสันหลังและ
โนโตคอร์ดที่บริเวณตัวบ้าง ได้แก่ เพรียงลอย เพรียงสาย เพรียงหัวหอม
2) Subphylum Cephatochordata ลักษณะตัวยาว หัวท้ายแหลม ฝังตัวตามทรายใน
ทะเล มีโนโตคอร์ดและไขสันหลังตลอดชีวิต ไม่มีสมอง ลำ ตัวเป็นปล้องกินอาหาร
โดยการรองจากนํ้าและนํ้าออกจากรูด้านหลัง ได้แก่ Amphioxus
3) Subphulum Vertebrata หรือสัตว์มีกระดูกสันหลัง ลักษณะทั่วไปมี Notocord หรือ
กระดูกสันหลัง(Vertebra) เป็นข้อๆ มีกะโหลกศีรษะ มีระยาง 2 คู่(ยกเว้นปลาปากกลม
มีคีบเดียว) ซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามความเหมาะสมแก่หน้าที่ มีช่องเหงือกบริเวณ
คอหอย มีตับ ไต มีสมองที่ซับซ้อน เส้นประสาทสมอง 10 หรือ 12 คู่ อวัยวะ
ทรงตัวมี 1 คู่ ระบบสืบพันธุ์มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ หัวใจมี 2 – 4 ห้อง
สัตว์ใน Subphylum Vertebrata แบ่งเป็น 2 พวก คือ
1. เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลัง หายใจด้วยเหงือก ที่เหงือกมีช่องให้นํ้าไหลผ่าน มีครีบใช้
เคลื่อนไหวและทรงตัว มีหัวใจ 2 ห้อง เส้นประสาทสมอง 10 คู่ มีเกล็ดปกคลุมตัว
มีอวัยวะรับความรู้สึกสั่นสะเทือนอยู่ข้างตัว คือ เส้นข้างตัว มีรูจมูกเล็ก ๆ 1 คู่
ทำ หน้าที่ดมกลิ่น แบ่งเป็น 3 class คือ
1.1 Class Cyclostomata ได้แก่ ปลาปากกลม ที่พบปัจจุบัน คือ Hegfish
lampey ไม่พบในประเทศไทย
1.2 Class Chondriehtypes (คอนดริคไทอิส) ได้แก่ ปลากระดูกอ่อน ซึ่ง
โครงสร้างเป็นกระดูกอ่อนทั้งหมด มีครีบคู่มีเกล็ดใหญ่และเล็ก ปากอยู่
ด้านล่าง มีช่องเหงือก มี 5 – 7 คู่ อยู่ข้างเหนือด้านล่างลำ ตัว ปฏิสนธิภายใน
เช่น ปลาฉลาม กระเบน ฉนาก โรนัน ไคมีรา (Chimaera)
1.3 Class Osteichthyes (ออสเตอิคไทยอิส) ได้แก่ ปลากระดูกแข็งทั้งหมดมีครีบ
2 แบบ คือ ครีบที่มีเนื้อนิ่มรอบกระดูก (lobed fin) และครีบที่มีกระดูกเป็น
เส้นเล็ก ๆ มีหนังบางเชื่อมติดเป็นแผ่นเดียว (ray fin) ส่วนใหญ่มีปฏิสนธิ
ภายนอก
2. เป็นสัตว์มีลักษณะทั่วไป คือ มีระยางใช้เคลื่อนไหว 2 คู่ แต่อาจจะมีคู่เดียวหรือไม่มี
เลย เหลือเพียงร่อยรอยให้เห็น หัวใจมี 3 ห้อง หรือ 4 ห้อง หายใจด้วยปอด
เส้นประสาทสมองมี 10 หรือ 12 คู่ แบ่งเป็น 4 Class
2.1 Class Amphibia ได้แก่ สัตว์ครึ่งบกครึ่งนํ้าลักษณะทั่วไปวางไข่ในนํ้าตัวอ่อน
หายใจด้วยเหงือก และผิวหนัง มีสร้างเมือกให้ตัวลื่น ไม่มีเกล็ด หัวใจมี 3 ห้อง
คือ atrium 2 ห้อง และ ventricle 1 ห้อง อุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนแปลงตาม
สภาพแวดล้อม ปฏิสนธิภายนอก เช่น กบ คางคก เขียด ปาด อึ่งอ่าง
จงโคร่ง ซาลามานเดอร์ งูดิน
2.2 Class Reptilia สัตว์เลื้อยคลาน ดำ รงชีวิตบนพื้นดิน วางไข่บนบก ไข่มีไข่แดง
มาก เพื่อเป็นอาหารของตัวอ่อน มีถุงนํ้าครํ่า มีแอลแลนทอยด์ เก็บของเสีย และ
ช่วยในการหายใจ มีถึงไข่แด (yolk sac) เป็นอาหารเลี้ยงดูลูกอ่อน ผิวหนัง
ลำ ตัวแห้งมีเกล็ด หายใจด้วยปอดตลอดชีวิต ไม่มีเมตามอร์โฟซิส หัวใจประกอบ
ด้วย atrium 2 ห้อง ventricle 1 ห้อง ซึ่งมีเยื่อกั้นไม่สนิท ยกเว้น จระเข้
ปฏิสนธิภายใน เช่น เต่า ตะพาบนํ้า กระ งู ตุ๊กแก กิ้งก่า ตุ๊ดตู่
2.3 Class Aves เป็นพวกสัตว์ปีก ได้แก่ นกต่าง ๆ ลักษณะทั่วไป มีขนแบบเป็น
ผง ขาหน้าเปลี่ยนเป็นปีก ปากเห็นจงอย ปอดมีถุงลม 9 ถุง ช่วยหายใจและ
ระบายความร้อน ไม่มีกระเพาะปัสสาวะ หัวใจมี 4 ห้องสมบูรณ์ เป็นสัตว์
เลือดอุ่น ปฏิสนธิภายในออกลูกเป็นไข่
2.4 Class Mammilia ได้แก่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ลักษณะทั่วไปคือ นํ้านมเลี้ยง
ลูก มีขนหรือผมแบบ hair มีกระบังลม ส่วนใหญ่กระดูกคอ 7 ชิ้น
มีเส้นประสาทสมอง 12 คู่ เป็นสัตว์เลือดอุ่น หัวใจมี 4 ห้องสมบูรณ์
เม็ดเลือดแดงเมื่อโตเต็มที่จะไม่มีนิวเคลียส มีต่อมเหงื่อใต้ผิวหนัง มีใบหู-ฟัน
2 ชุด ปฏิสนธิภายใน เอมบริโอเจริญในมดลูก เช่น ตุ่นปากเป็ด จิงโจ้
ค้างคาว ตัวนิ่มเกล็ด ตัวกินมด กระต่าย บีเวอร์ หนู ลิง คน บางชนิด
อาศัยอยู่ในทะเล เช่น ปลาวาฬ โลมา พยูน



อาณาจักรพืช (Plant Kingdom)
ลักษณะสำ คัญของสิ่งมีชีวิต
1. มีคลอโรฟิลล์ บรรจุอยู่ในเม็ดคลอโรพลาส์ นอกจากนั้นยังมีรงควัตถุอื่น ๆ อีก เช่น
คาโรดินอยด์ (Carotenoids)
2. ไม่เคลื่อนที่ไปมาหรือไม่เคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง แต่ในบางระยะของวงชีวิตอาจมี
แฟลกเจลลัมสำ หรับเคลื่อนที่ได้
3. เป็นสิ่งมีชีวิตพวกยูคาริโอติก (Eukaryotic cell)
4. ประกอบด้วยเซลล์หลายเซลล์ รวมกลุ่มกันเป็นเนื้อเยื่อซึ่งมีการเปลี่ยนสภาพของเซลล์ไปทำ
หน้าที่เฉพาะ (Differentiation)
5. เซลล์สืบพันธุ์ผสมกันได้ไซโกต แล้วจะต้องเจริญผ่านระยะเอมบริโอ แล้วจึงจะเจริญเป็น
ต้นใหม่ (ต้นสปอโรไฟต์)
6. มีวงชีวิตแบบสลับ (Alternation of generation) หมายถึงว่ามีระยะของต้นแกมีโตไฟต์
(gemelophyte) สร้างเซลล์สืบพันธุ์ผสมกันแบบอาศัยเพศ สลับกับระยะของต้นสปอโรไฟต์
(sporophyte) สร้างสปอร์เป็นเการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ
7. มีผนังเซลล์ (Cell wall) เป็นสารเซลลูโลสและสารเพศติน (Cellulosse และ Pectic
substance)
2n 2n
Zygote Embryo 2n
n n
Sperm Sporophyte
Egg n n meiosis
mitosis n n
Gametophyte Spore

อาณาจักรพืช แบ่งเป็น Division โดยใช้ท่อลำ เลียง (Vascular bundle) เป็นเกณฑ์ในการแบ่ง
1. Division Bryophyta
ที่อยู่บริเวณชุ่มชื้นสูง บางชนิดอยู่บริเวณผิวหน้านํ้า บางชนิดอยู่ตามที่แห้งแล้ง

ลักษณะที่สำคัญ
1. ไม่มีท่อลำ เลียงนํ้า (Xylem) และท่อลำ เลียงอาหาร (phloen) หรือเรียก
มัดท่อนํ้า ท่ออาหาร (Vacular bundle)
2. ไม่มีรากและลำ ต้น และใบที่แท้จริง
3. ต้นที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์ (Gametophyte) ขนาดใหญ่กว่าต้นที่สร้างสปอร์
(Sporophyte) ที่ต้นมีส่วนคล้ายรากเรียก Rhizoid

Divison Bryphyta แบ่งเป็น 3 ชนิด เรียงลำ ดับจากวิวัฒนาการสูงสุดไปหาตํ่าสุด เป็นดังนี้
(1) Class Bryopsida
ตัวอย่าง มอส (Moss) มีอายุ 325 ล้านปีมาแล้ว
ที่อยู่ ตามพื้นดิน อิฐ เปลือกไม้
ลักษณะที่สำ คัญ
1. สีเขียวคล้ายพรม ขนาดเล็กเรียงกันแน่น
2. มี Rhizoid ทำ หน้าที่ยึดดิน ดูดนํ้า
3. เป็นพวก Bryophyta ที่มีวิวัฒนาการสูงสุด
4. มีการสืบพันธุ์แบบสลับ (Alternation of Generation) ในธรรมชาติพบ
Gametophyte ง่ายกว่า ส่วน Sporophyte ประกอบด้วย Foot ซึ่งยึดติดกับ
Gametophyte ของต้นตัวเมีย มีก้านชูสปอร์ (Stalk หรือ Seta) และอัปสปอร์
(Sporangium) ภายในมีการสร้าง Spore โดยการแบ่งเซลล์แบบ Meiosis ได้
Chromosome = n. สปอร์ปลิวตกในที่เหมาะสม เจริญเป็น Gametophyte
ประโยชน์
1. รักษาผิวดินจากการชะล้าง
2. ห่อหุ้มรากพืชให้ชื้น
3. ทำ ให้หินผุแตกสลายเป็นดิน
4. ใช้เป็นเชื้อเพลิงได้

(2) Class Anthooeropsida
ตัวอย่าง Homwort ที่รู้จักทั่วไป คือ
1. Anthooeros 2. Phaeoceros 3. Nolothylus
ที่อยู่ ขึ้นได้ทุกสภาพอากาศ ยกเว้นแถบขั้วโลก
ลักษณะ 1. Gametophyte ลักษณะเป็นส่วน (Thallus) มีรอยหยักที่ขอบแตกแขนงเป็นพู
Sporophyte อยู่บน Thallus ของ Gametophyte ที่โคนมีส่วน Gametophyte หุ้ม
เป็นปลอก Sporophyte ยื่นพ้นปลอกยาวเรียง ปลายแตกเป็น 2 แฉก เพื่อให้สปอร์
กระจาย
2. Sporophyte มี chlorophyll แต่ก็ยังอาศัย Gametophyte ตลอดชีวิต
3. การสืบพันธุ์ Thallus หักเป็นท่อน ๆ แต่ละท่อนเจริญเป็น Thallus ใหม่ได้
(3) Class Hepaticopsida
ตัวอย่าง Livewors (ตะไคร้เทียม)
ที่อยู่ ขึ้นตามที่ชื้นสูง
ลักษณะ
1. มีอายุ 362 ล้านปีมาแล้ว
2. Gametophyte มี 2 แบบ
2.1 อาจเป็นแผ่นแบบราบติดพื้นดิน ด้านล่างมี Rhizoid
2.2 อาจคล้ายลำ ต้น มีใบ เช่น Porella คล้าย Moss
3. Gametophyte แตกแขนงเป็น 2 แฉก (เป็นลักษณะพวกวิวัฒนาการตํ่า)
4. ไม่มี Vascular bundle

การสืบพันธุ์
1. สืบพันธุ์แบบสลับ
2. บางพวกสืบพันธุ์โดยไม่ใช้เพศ โดยสร้าง Gamma cup ขึ้นมา มี cell ที่จะงอก
เป็น Gametophyte ต้นใหม่อยู่ภายในเรียกการสืบพันธุ์แบบนี้ว่า Vegetative
Reproduction

2. Division Psilophyta
ได้แก่ พวกหวายทะนอย (Psllotum sp.)
ลักษณะ
1. วิวัฒนาการตํ่าสุดในพวกมี Vascular bundle (Xylemt Phloem)
2. ไม่มีราก แต่มี Rhizoid แทน
3. ไม่มีใบ ถ้ามีเป็นเกล็ดเล็ก มีเส้นกลางใบ เรียกใบว่า Microphyll
4. ลำ ต้นเล็กเป็นเหลี่ยม มี Chlorophyll แตกกิ่งเป็นคู่ ๆ (Dichotomous branching)
5. Sporophyte โดยสร้างอับ Spore (Sporangium) ติดกับกิ่ง Gametophyte ไม่มี
คลอโรฟิลล์ มีขนาดเล็ก
6. มีการสืบพันธุ์แบบสลับ
7. มีลำ ต้นใต้ดิน เรียก Rhizome

3. Division Lycophyta
บางชนิดสูญพันธุ์ไปแล้ว และนักชีววิทยาคิดว่ามีวิวัฒนาการมาจาก Psilcphyta
ลักษณะ 1. ไม้เนื้ออ่อน เจริญอิสระ
2. ลำ ต้นตั้งตรง อาจเลื้อยหรือเกาะกับพืชอื่น เรียก Eplphyte
3. มีราก Rhizoid
4. มีใบแบบ microphyll
5. การแตกแขนงราก ลำ ต้น เป็นแบบ 2 แฉก เรียก Dichotomous branching
6. การสืบพันธุ์แบบสลับ ได้แก่
ก. Lycopodium ได้แก่
1. ช้องนางคลี่ 2. สร้อยสุกรม
3. สามร้อยยอด 4. หญ้ารังไก่
5. สร้อยสีดา 6. หางกระรอก
ลักษณะ
1. เป็นอิสระ หรือ Epiphyte
2. อับสปอร์ ประกอบด้วยใบเรียงตัวกันแน่น เรียก Strobilus ทำ หน้าที่สร้าง
Spore อยู่ปลายสุดของกิ่ง, ลำ ตัว
ข. Selaginella ได้แก่
1. ตีนตุ๊กแก 2. หญ้าร้องไห้
3. พ่อค้าตีเมีย 4. เฟือยนก
ลักษณะ
1. ขึ้นตามแถบร้อน ร่ม ชุ่มชื้น
2. ลำ ต้นตรง และเลื้อยบนดิน
3. Sporophyte ลักษณะคล้าย Lycopodium เมื่อแก่เต็มที่ สร้าง Strobilus

4. Division Sphenophyta
สูญพันธุ์ไปแล้ว เหลือเพียง Genus เดียว คือ Equisetum ได้แก่ หญ้าถอดปล้อง สนหางม้า
(หญ้าหางม้า)
ลักษณะ
1. ลำ ต้นเล็ก สีเขียว ข้อและปล้องชัดเจน ดึงถอดจากกันได้ เมื่อเจริญเต็มที่ ภายใน
ลำ ต้นกลวง
2. ใบแตกออกรอบ ๆ ข้อ สีไม่เขียว
3. มี Strobilus ปลายยอด
4. ขึ้นเป็นกอใหญ่ ตามริมนํ้า หนองนํ้า
5. Gametophyte ขนาดเล็ก เป็น Thallus มี Rhizoid
6. มีการสืบพันธุ์แบบสลับ

5. Division Pterophyta
ลักษณะที่สำคัญ
1. ลำ ต้น ราก ใบเจริญดี มี Vascular bundle มีลำ ต้นใต้ดิน ทอดนอนใต้ดิน
ได้แก่ เฟิร์นที่เห็นทั่วไป ใบมีโครงสร้างคล้ายใบทั่วไป เรียกใบประกอบ
ของเฟิร์นทุกชนิดว่า Frond ขณะใบอ่อนจะม้วนปลายไปยังโคนเป็นวงช้อน
กันแน่น (Circinating Vernation) มีการสืบพันธุ์แบบสลับ
แหล่งที่พบ ก. ที่ชุ่มชื้นมาก เช่น เฟิร์น, ปลิงทะเล, ปรงทอง (ปรงไข่)
ข. ลอยตามนํ้า เช่น แหนแดง, จอกหูหนู, บัวแฉก
ค. เกาะต้นไม้, กิ่งไม้เป็น Epiphyte เช่น ชายผ้าสีดา, ข้าหลวงหลังลาย
ง. อยู่ในนํ้าที่ชื้นแฉะ เช่น ผักแว่น, ผักกูดนํ้า, ย่านลิเภา

6. Division Coniferophyta
ลักษณะ
1. เมล็ดไม่มีรังไข่ห่อหุ้ม หรือเกิดบน sporophyll (ส่วนที่เปลี่ยนแปลงจากใบ) ซึ่งเรียง
ตัวแน่น ประกอบเป็น Cone (คล้าย Strobilus)
2. ไม่มีดอก ส่วนมากเป็นไม้ยืนต้น
3. เจริญดีในเขตกันดาร หรือเขตหนาว เช่น ดอยอินทนนท์, ขุนตาล, ภูกระดึง
4. Sporophyte มีอวัยวะสร้าง Spore เรียก Cone รูปร่างคล้ายดอกบัวตูม
Cone แต่ละอันประกอบด้วยใบสร้าง Spore เรียก Sporophyll ลักษณะเป็นแผ่นแข็งซ้อนกัน
แน่นเวลาแก่ใบจะกางออก แบ่งเป็น 2 ชนิด
1. Staminate Cone สร้าง Microspore มีปีกลอยไปตามลมได้
2. Pstillate Cone สร้าง Megaspore ซึ่งมี Ovule อยู่ด้านติดกิ่ง 2 อัน ไม่มีอะไรห่อหุ้ม
เมื่อ Microspora หล่นถึง Ovule จะงอก Pollentube แล้วปฏิสนธิโดยไม่ใช้นํ้า
เจริญเป็นเมล็ดพืชในกลุ่มนี้ ได้แก่
1. สน 2 ใบ 2. สน 3 ใบ (สนเกี๊ยะหรือสนภูเขา)3. สนฉัตร 4. สนแผง

7. Division Cycadophyta
พืชกลุ่มนี้ส่วนใหญ่สูญพันธุ์ไปแล้ว เคยเป็นอาหารของไดโนเสาร์ในปัจจุบันเหลือเพียงประมาณ
100 ชนิด กระจายอยู่ในเขตร้อนและอบอุ่น
ลักษณะ เป็นพืชที่มีลำ ต้นใหญ่ เตี้ย มีขนาดเล็กกว่าสน มีใบขนาดใหญ่อยู่เป็นกระจุก บนยอด
ของลำ ต้น ลำ ต้นไม่แตกกิ่งก้านเหมือนสน
ตัวอย่าง 1. ปรง 2. ปรงป่า 3. มะพร้าวเต่า 4. ปรงญี่ปุ่น

8. Division Ginkgophyta
ลักษณะ เป็นพืชที่มีลำ ต้นขนาดใหญ่คล้ายพืชมีดอก แผ่นใบกว้างคล้ายพัด มีเมล็ดเปลือยขนาด
ใหญ่ ชอบขึ้นในเขตหนาว เช่น จีน เกาหลี และญี่ปุ่น ได้แก่ แป๊ะก๊วย

9. Division Anthophyta
พวกมีดอกวิวัฒนาการสูงสุด
ลักษณะ
1. เมล็ดมีรังไข่ห่อหุ้ม หรือไข่อ่อนมีรังไข่ห่อหุ้ม เมล็ดเกิดในผลรังไข่ คือ
Megasporophyll ที่โอบเข้าหากัน เพื่อหุ้ม Ovule
2. Sporophyte มีดอก สร้าง Spore คือ ต้นไม้ที่เกิดทั่วไป มีดอก, ใบ, ราก, ลำ ต้น,
เมล็ด
3. อวัยวะสืบพันธุ์คือ ดอก, สร้าง Spore 2 ชนิด คือ
1) Microspore สร้างใน Anther
2) Megaspore สร้างใน Ovule
4. วงจรชีวิตแบบสลับ และ Gametophyte มีอายุสั้น

จำ แนกพืชดอกเป็น 2 Class คือ
1. คลาสมอโนสคอทีลีโดเนส (Class Monocotyledones) ได้แก่ พืชใบเลี้ยงเดี่ยว
2. คลาสไดคอทีลีโดเนส (Class Dicotyledones) ได้แก่ พืชใบเลี้ยงคู่

ลักษณะของพืชใบเลี้ยงคูและพืชใบเลี้ยงเดี่ยวแตกต่างกันดังนี้
ใบเลี้ยงคู่
1. มีใบเลี้ยง (Cotyledon) 2 ใบ
2. เส้นใบเป็นร่างแห
3. จำ นวนกลีบดอกเป็น 4, 5 หรือทวีคูณ 4, 5
4. Vascular bundle อยู่เป็นระเบียบวงรอบลำ ต้น
5. มีการเจริญเติบโต
6. มีระบบรากแก้ว
7. เวลางอกใบเลี้ยงโผล่เหนือดิน (Epigeal genmination)
8. เห็นข้อปล้องไม่ชัดเจน

ใบเลี้ยงเดี่ยว
1. ใบเลี้ยง 1 ใบ อีกใบเปลี่ยนเป็นปลอกหุ้มยอดอ่อน
2. เส้นใบขนานกัน
3. จำ นวนกลีบเป็น 3 หรือทวีคูณ
4. Vascular bundle กระจัดกระจายไม่เป็นระเบียบ
5. ไม่มีการเจริญด้านข้าง
6. ไม่มีระบบรากแก้ว มีระบบรากฝอย
7. เวลางอกใบเลี้ยงอยู่ใต้ดิน (Hypogeal germination)
8. ข้อ, ปล้อง เห็นชัดเจน

อาณาจักรมอเนอรา (Monera Kingdom)
ลักษณะสำ คัญของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรโมเนอรา
1. เป็นสิ่งมีชีวิตพวก Prokaryotic cell
2. เซลล์ไม่มีออร์แกเนลส์ชนิดมีเยื่อหุ้ม เช่น ร่างแหเอนโดพลาสซึม ไลโซโลม คลอโรพลาสต์
เป็นต้น มีเฉพาะอร์แกเนลส์ชนิดไม่มีเยื่อหุ้ม คือ ไรโบโซม
3. เป็นเซลล์ที่มีวิวัฒนาการตํ่า

สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรโมเนอราแบ่งเป็น 2 ไฟลัม

1. Phylum Schizomycophyta
ได้แก่ พวก Bacteria
ลักษณะที่สำ คัญ 1. ไม่มีเยื่อหุ้ม Nucleus (Nuclear membrane) nucleus กระจายทั่วไปใน
Cytoplasm เป็นพวกเซลล์เดียว
2. ไม่มี Chlorophyll ยกเว้นบางชนิด Green bacteria, Purple bacteria
สังเคราะห์และได้จากพลังแสง บางชนิดดำ รงชีวิตเป็น Parasite ทำ ให้เกิด
โรค บางชนิดดำ รงชีวิตแบบภาวะย่อยสลาย (Saprophytism)
3. ผนัง Cell ประกอบด้วย Carbohydrate amino acid
4. บางชนิดมี Flagellum ใช้เคลื่อนที่
5. สืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ โดยแบ่ง 1 เป็น 2 ซึ่งเรียกการแบ่งแบบนี้ว่า
Binary Fission
6. มีรูปร่าง 3 แบบ ขนาด 0.001 – 0.005 mm.
ความสำ คัญของแบคทีเรีย
• ประโยชน์
1. เป็น Decompocer ทำ ให้อินทรียสารเปลี่ยนเป็นอนินทรียสาร
2. bacteria ในรากพืชตระกูลถั่ว เรียก Rhizobium (มะขาม, จามจุรี, ถั่ว, แค, กระถิน)
เปลี่ยนไนโตรเจน ในอากาศเป็นสารพวก Nitrate
3. ใช้ในอุตสาหกรรมและการผลิตอาหาร การฟอกหนัง บ่มใบยาสูบ นมเปรี้ยว นํ้าส้มสายชู
4. ผลิต hormone insulin
5. ช่วยย่อย Cellulose ในลำ ไส้คน เช่น พวก E. cell (Escharichia cell)
• โทษแบคทีเรียทำ ให้เกิดโรค
1. เชื้อบาดทะยัก
2. อหิวาตกโรค, บิดไม่มีตัว, ไข้รากสาดน้อย (Thyphoid)
3. คอตีบ ปอดบวม ไอกรน วัณโรค
4. กาฬโรค
5. โกโนเลีย ซิฟิลิส
6. ใบเหลืองในมะเขือเทศ

2. Phylum Cyanophyta
ได้แก่ พวก Blue – green algae
ที่อยู่ นนํ้าจืด ได้แก่ อยู่ตามที่ชื้น ตะไคร่อยู่ตามหิน บ่อนํ้าร้อน
ลักษณะสำ คัญ 1. ไม่มีผนังหุ้มนิวเคลียส เรียกว่าเป็น Procaryotic cell
2. มี Chlorphyll ภายใน Cytoplasm ไม่มี chloroplast สังเคราะห์แสงได้ใน
O2 และนํ้า
3. มี Phycocyanin (สีนํ้าเงิน) รวมกับ Chlorophyll
4. อาจอยู่เป็นกลุ่ม (Colony) หรือเป็นสาย (Filament) และมีเปลือกหรือเมือก
หุ้ม
5. บางชนิดตรึง N2 ในอากาศเหมือน bacteria เช่น Anabena อาศัยในช่องว่าง
กลางใบของแหนแดง (Fern) เลี้ยงในนาข้าวเป็นปุ๋ยพืชสด
6. สืบพันธุ์แบบ
1) Binary fission
2) การหักเป็นท่อนเรียก Fragmentation
7. Spirulina มี Protein สูงมาก จึงทำ เป็นอาหารเสริม

อาณาจักรโปรติสตา (Protista Kingdom)
ลักษณะที่สำ คัญของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรโปรติสตา
1. ร่างกายประกอบด้วยโครงสร้างง่าย ไม่ซับซ้อน ส่วนมากประกอบด้วยเซลล์เดียว (unicellular)
บางชนิดมีหลายเซลล์รวมกันเป็นกลุ่มเรียกว่า โคโลนี (Colony) หรือเป็นสายยาว (Filament)
แต่ยังไม่ทำ หน้าที่ร่วมกันเป็นเนื้อเยื่อ (Tissue) หรืออวัยวะ (Organ) แต่ละเซลล์สามารถทำ
หน้าที่ของความเป็นสิ่งมีชีวิตได้ครบถ้วนอย่างอิสระ
2. ไม่มีระยะตัวอ่อน (Embryo)
3. การดำ รงชีวิตมีทั้งชนิดที่เป็นผู้ผลิต (Autotroph) เพราะมีคลอโรฟิลล์เป็นผู้บริโภค
(Consumer) และเป็นผู้ย่อยสลาย (Decomposer)
4. เป็นพวก Eukaryotic cell
5. การเคลื่อนที่ บางชนิดเคลื่อนที่ได้โดยใช้ Cilia, Flageilum, Pseudopodium บางชนิดไม่
เคลื่อนที่
6. การสืบพันธุ์ มีทั้งแบบไม่อาศัยเพศแบบอาศัยเพศ

1. Phylum Protozoa
ลักษณะที่สำ คัญ
1. สิ่งมีชีวิต Cell เดียว หรือหลาย Cell รวมเป็นกลุ่มอยู่ในนํ้าจืด ทะเล ในดิน เป็นอิสระและ
Symbiosis
2. ภายในมี nucleus 1 อัน (หลาย nucleus เช่น paramecium)
3. การเคลื่อนที่
บางชนิด เช่น Flagelum เช่น Euglena, Trypanosoma
บางชนิดเคลื่อนที่ใช้ Cilia เช่น Paramecium, Vorticella
บางชนิดใช้ขาเทียม Pseudopodium เช่น Amoeba
บางชนิดไม่เคลื่อนที่ เช่น Plasmodium
4. อยู่เป็นอิสระ เช่น Amoeba Paramecium
Parasite เช่น Plasmodium Trypanasom
Symbiosis เช่น Protozoa ในลำ ไส้ปลวก Entamoeba sp.
5. การสืบพันธุ์
1) Binary Fission
2) โดยใช้เพศ เช่น พบใน Paramecium
แบ่งออกเป็น 4 class
1. Class Fiagellata
เคลื่อนที่โดยใช้ Flagella ได้แก่ Euglena
2. Class Sarcodina
เคลื่อนที่โดยการไหลของ Cytoplasm ทำ ให้เกิดส่วนที่ยื่น เรียกขาเทียม
(Pseudopodium) เรียกการเคลื่อนที่ว่า Amoebold movement
3. Class Cllata
เคลื่อนที่โดยใช้ขน Cilia ได้แก่ Paramecium, Vorticella
4. Class Sporazoa
ไม่มีโครงสร้างเคลื่อนที่ เพราะเป็น parasite ล้วน ได้แก่ เชื้อไข้จับสั่น (Plasmodium)

2. Phylum Chlorophyta
พวกสาหร่ายสีเขียวต่างๆ เดิมจัดในพวกพืช เพราะมี Chlorophyll และเพราะมี cell เดียว
ไม่รวมกันเป็นเนื้อเยื่อ จึงจัดใน Kingdom Protista
ลักษณะทั่วไป ของสาหร่ายสีเขียว
1. พบตามบ่อ, บึง, คู ที่มีนํ้าขัง ทั้งนํ้าจืดและทะเล
2. Division ใหญ่ที่สุด
3. เป็น Producer ขนาดใหญ่
4. สะสมอาหารแป้งเหมือนพืชชั้นสูง
5. ผนัง Cell ประกอบด้วย Cellulose
6. รูปร่าง Cell เดียว เป็นกลุ่ม เป็นสาย (Filament)

3. Phylum Chrysophyta
สาหร่ายสีนํ้าตาลแกมเหลือง, สีเขียวแกมเหลือง และ Diatom (มี Diatom มากที่สุด) พบใน
ทะเล, นํ้าจืด
ลักษณะที่สำ คัญ 1. มีรงควัตถุสีเหลือง, นํ้าตาลปน Chlorophyll
2. ผนัง Cell ของ Diatom ประกอบด้วยสาร Silica พวกนี้ตายทับถมเป็น
แหล่งรวมแร่ธาตุ, นํ้ามัน นอกจากนี้ ซาก Diatom ใช้ในอุตสาหกรรม
ต่อไปนี้
- ทำ เครื่องแก้ว, ยาขัดโลหะ ยาสีฟัน
- ฉนวนความร้อนในตู้เย็น, เตาอบ
- เตาหลอมโลหะ
- เป็นส่วนสำ คัญในการกรองนํ้าตาลที่ใช้สำ หรับผลิตเบียร์

4. Phylum Phaeophyta
สาหร่ายสีนํ้าตาล
ลักษณะที่สำ คัญ 1. พบในนํ้าเค็มส่วนมาก
2. ขนาดใหญ่ ประกอบด้วย Cell จำ นวนมาก (สาหร่ายหลาย Cell)
3. ผนัง Cell ประกอบด้วยสาร Alginic a นำ มาสกัดในรูป Algin ใช้ใน
อุตสาหกรรมทำ สี, ทำ ยา และขนมหวาน, ทำ อาหาร, เส้นใย, ยาง, สบู่

5. Phylum Rhodophyta
พวกสาหร่ายสีแดง
ลักษณะที่สำคัญ
1. มีรงควัตถุแดง Chlorophyll
2. ผนัง Cell มีสารเมือกเหนียว (Colloid) โดยใช้สารนี้สกัดทำ วุ้น (Aga)
ทำ อาหารกระป๋อง, เครื่องสำ อาง เป็นอาหารเลี้ยงจุลินทรีย์ ทำ Capsule ยา,
ทอผ้า (เคลือบเส้นใยเหนียว), ผสมยาขัดรองเท้า และครีมโกนหนวด

6. Phylum Myxomycophyta
ได้แก่ ราเมือก
สถานที่ พบตามที่ชื้นแฉะทั่วไป เช่น ตามกอไม้ผุ ๆ ใบไม้ที่ทับถมกันอยู่นาน ๆ ชุ่มชื้น
ลักษณะที่สำคัญ
1. มองเห็นด้วยตาเปล่า เป็นเมือกข้นสีขาว เหลือง ส้ม ไม่มี Chlorophyll
2. ช่วงชีวิตหนึ่ง ลักษณะคล้ายแผ่นวุ้น ประกอบด้วย Cell หลาย Cell มา
รวมกัน โดยแต่ละ Cell ไม่มีผนังกัน ภายในมี nucleus หลายวัน
มองดูคล้ายร่างแห เรียกระยะนี้ว่า Plasmodium เคลื่อนที่คล้ายสัตว์
เรียกว่า Amocboid movement เมื่อเข้าระยะสืบพันธุ์ สร้างอับ Spore
ภายในมี Spore คล้ายพืช เพื่อตกที่เหมาะสม ลอกคล้ายแผ่นวุ้น
3. ดำ รงชีวิตแบบ Sapprophyte บางชนิดแบบ Parasite

อาณาจักรฟังไจ (Kingdom Fungi)
ลักษณะสำ คัญของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรฟังไจ
1. เป็นสิ่งมีชีวิตที่ดำ รงชีพอยู่ในสภาวะย่อยสลาย (Suprophyte)
2. ไม่มีคลอโรฟิลล์ พบทั้งในนํ้าและบนบก
3. รูปร่างเป็นเส้นใยเล็ก ๆ แต่ละเส้นเรียกว่า ไฮฟา (Hypha) เส้นใยจะรวมกันอยู่เป็นกลุ่ม
เรียกว่า ไมซีเลียม (mycellum) ยกเว้นพวกที่ไม่มี mycellum คือยีสต์
4. สืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศด้วยการสร้างสปอร์

สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรฟังไจแบ่งเป็น 4 ดิวิชัน
1. ดิวิชันไซโกไมโคตา (Division Zygomycota)
ลักษณะที่สำ คัญ - ไฮฟาไม่มีเยื้อกั้น
- มีลักษณะคล้ายสาหร่าย Algae like fungi
- ผนังเซลล์เป็นสารพวกไคทิน
- การสืบพันธุ์มีทั้งแบบไม่อาศัยเพศและแบบอาศัยเพศ โดยการสร้างสปอร์
เรียกว่า ไซโกสปอร์ (Zygospore)
- ตัวอย่างเช่น ราดำ (Rhizopus spp.) ที่ชื้นบนขนมปัง

2. ดิวิชันแอสโคไมโคตา (Division Ascomycota)
ลักษณะที่สำ คัญ - ไฮฟามีผนังกั้น (septate) แต่เยื่อกั้นมีรูทะลุทำ ให้ไซโทพลาซึมและนิวเคลียส
ไหลถึงกันได้ บางชนิดมีเซลล์เดียวคือ ยีสต์
- มีการสร้างสปอร์ โดยการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ มีถุงสปอร์เรียก แอสคัส
(Ascus) ภายในมีสปอร์ เรียกว่า แอสโคสปอร์ (Ascospore)
- ตัวอย่างยีสต์ (Saccharomyces spp.) ราสีแดง (Mohascus spp.) ราที่นำ มาใช้
ในการผลิตเพนิซิลลิน (Penicillin sp.) ราที่ใช้ผลิตกรดซิตริก (Aspergillus
niger) เป็นต้น

3. ดิวิชันเบสิดิโอไมโคตา (Division Basidiomycota)
ลักษณะที่สำ คัญ - ไฮฟามีผนังกั้นอย่างสมบูรณ์
- มีการสร้างสปอร์โดยการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศเรียกว่า เบสิดิโอสปอร์
(basidiospore)
- เป็นราที่มีก้านชูอับสปอร์ รูปร่างคล้ายกระบอง (Club fungi) ก้านชูนี้
เรียก เบสิเดียม (Basidium)
- ตัวอย่าง เห็ดชนิดต่าง ๆ เช่น เห็ดฟาง (Volvaridla vlovace),เห็ดหอม
(Lentinula edodes) หรือราสนิม (Puccinla graministritici) เป็นต้น

4. ดิวิชันดิวเทอโรไมโคตา (Division Deoteromycota)
ลักษณะที่สำ คัญ - เป็นราที่มีการสืบพันธุ์เฉพาะแบบไม่อาศัยเพศ
- สร้างสปอร์ด้วยโครงสร้างที่เรียกว่า โคนิเดีย (Conidia)
- ตัวอย่างราที่ทำ ให้เป็นโรคกลาก เกลื้อน โรคเท้าเปื่อย เป็นต้น

Lichens (ไลเคนส์)
ลักษณะที่สำ คัญ
สิ่งมีชีวิต ประกอบด้วยสาหร่าย (Algae) และรา (Fungi) อยู่ร่วมกันแบบ Mutualism โดย
สาหร่ายสังเคราะห์แสง ให้อาหารแก่รา ส่วนราให้ความชื้นแก่สาหร่าย เพราะห่อหุ้มภายนอก
สาหร่ายเป็นพวก Chlorophyta และ Blue green algae ส่วนราเป็นพวก Asocmycetes
• ประโยชน์
1. บ่งบอกมลพิษในอากาศได้ ถ้าดูดอากาศพิษไว้มันจะตาย
2. ทำ ให้หินถูกย่อยสลายเป็นดิน เพราะไลเคนส์ปล่อยสารเป็นกรดออกมา
3. เป็นอาหารสัตว์เล็ก ๆ เช่น หอย หนอน
4. รักษาบาดแผล ทำ สีย้อมผ้า
การจำ แนกไลเคนส์ จำ แนกตามรูปร่างเป็น 3 ชนิด
1) Crustose Lichens
2) Follose Lichens
3) Fruticose Lichens

ไวรัส (Virus)
ลักษณะที่สำ คัญ
1. ไม่มีลักษณะเป็น Cell เป็นโครงร่างง่าย ๆ ประกอบด้วยสาย RNA หรือ DNA ที่มีโปรตีน
หุ้มล้อมรอบ
2. ขนาดเล็กกว่า 210 Um
3. เจริญได้เมื่ออยู่ในสิ่งมีชีวิตอื่น
4. เป็นอนุภาคเรียก Virion
• โทษของ Virus ทำ ให้เกิดโรคต่อไปนี้
- โรคพิษสุนัขบ้า - โรคฝีดาษ
- ไข้หวัด, ไข้หวัดใหญ่ - หัด, คางทูม
- อีสุกอีใส - โปลิโอ
- ตับอักเสบ - โรคใบหงิก ใบด่างในยาสูบ
- หัดเยอรมั


บทที่ 3 เซลล์และโครงสร้างของเซลล์

เซลล์และทฤษฎีเซลล์




เซลล์เป็นหน่วยโครงสร้างพื้นฐานที่มีชีวิตที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิต เนื่องจากเซลล์ส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า การศึกษาเกี่ยวกับเซลล์จึงต้องอาศัยกล้องจุลทรรศน์ส่องดูสิ่งต่างๆทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต

ชไลเดน นักพฤกษาศาสตร์ และชวันน์ นักสัตววิทยา ทั้งสองเป็นชาวเยอรมันโดย นักวิทยาศาสตร์ทั้ง 2 คนได้ร่วมกันตั้ง “ ทฤษฎีเซลล์ ” ( CELL THEORY) ซึ่งกล่าวว่า “ สิ่งมีชีวิตทั้งหลายประกอบไปด้วยเซลล์และผลิตภัณฑ์ของเซลล์ ” โครงสร้างของเซลล์ที่ศึกษาด้วยกล้องอิเล็กตรอน จากการศึกษาเซลล์ต่างๆ พบว่าเซลล์ของสิ่งมีชีวิตมีรูปร่าง ขนาด โครงสร้างแตกต่างกันไป แต่ก็มีส่วนที่เหมือนกันได้แก่ นิวเคลียส ไซโทพลาซึม และเยื่อหุ้มเซลล์ นักชีววิทยาได้ใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนศึกษาเซลล์ของสิ่งมีชีวิตพบว่าในไซโทพลาซึมมีโครงสร้างขนาดเล็กที่ทำหน้าที่เฉพาะเรียกว่า "ออร์แกเนลล์"(Organelle)



การรักษาดุลยภาพของเซลล์

เซลล์จะดำรงชีวิตอยู่ได้ต้องประกอบด้วยองค์ประกอบและออร์แกเนลล์ต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่แตกต่างกันและยังขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่อยู่รอบ ๆ เซลล์ด้วยการลำเลียงสารเข้าและออกจากเซลล์นั้น มีความสำคัญต่อเซลล์ของสิ่งมีชีวิตเป็นอย่างมาก เนื่องจากเซลล์ที่มีชีวิตต้องการสารอาหาร เพื่อผลิตเป็นพลังงานสำหรับใช้ในเซลล์และในขณะเดียวกันก็ต้องมีการนำของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเมแทบอลิซึมภายในเซลล์ออกนอกเซลล์สารต่าง ๆ เหล่านี้เข้าและออกจากเซลล์โดยผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ ซึ่งเป็นเยื่อเลือกผ่าน โดยยอมให้น้ำและสารที่มีขนาดเล็กบางชนิดผ่านเข้าออกจากเซลล์ได้อย่างอิสระ ส่วนสารที่มีขนาดโมเลกุลใหญ่ เช่น คาร์โบไฮเดรด ลิพิด โปรตีน และกรดนิวคลีอิก เซลล์ต้องมีกลไกพิเศษบางอย่างในการนำสารดังกล่าวเข้าและออกจากเซลล์

กลไกการลำเลียงสารผ่านเยื่อหุ้มเซลล์มี 3 แบบ คือ

1.การแพร่ (diffusion)


2.การเคลื่อนที่ของสารโดยกระบวนการแอกทิฟทรานสปอร์ต (active transport)


3.สารขนาดใหญ่เข้าสู่เซลล์



การสื่อสารระหว่างเซลล์

เซลล์สามารถสื่อสารกันได้ เช่น เซลล์ยีสต์ สามารถจับคู่กันผสมพันธุ์กันได้ โดยยีสต์สามารถรู้ว่าเซลล์ยีสต์ที่จับคู่กันนั้นเป็นเพศตรงข้าม โดยเซลล์ยีสต์จะหลั่งสารเคมีออกมา และเซลล์ที่จับคู่นั้นสามารถรับสัมผัสกันได้ เซลล์สัตว์ เมื่อเซลล์สองเซลล์มาอยู่ชิดกันทำให้สารโปรตีนที่เยื่อเซลล์มาบรรจบกันเกิดเป็นช่องขนาดเล็ก (gap junction) ทำให้สารเคมีจากเซลล์หนึ่ง เช่น กรดอะมิโน มอโนแซ็กคาไรด์ หรือไอออนต่าง ๆ ของสารในไซโทพลาซึมผ่านเข้าออกได้ และเชื่อมประสานกันได้ เซลล์พืชที่อยู่ชิดกันจะมีช่องพลาสโมเดสมาตา (plasmodecmata) ทำให้เซลล์พืชทั้งสองเชื่อมต่อกันได้ และสารต่าง ๆ จากไซโทพลาซึมของเซลล์หนึ่งจะเชื่อมต่อกับอีกเซลล์หนึ่งได้ เซลล์ประสาทของสัตว์สามารถสื่อสารและนำกระแสประสาทได้ โดยเซลล์ประสาทที่เชื่อมต่อกันนั้น จะมีการหลั่งสารออกมา เพื่อกระตุ้นให้เซลล์ประสาทอีกเซลล์หนึ่งทำงานต่อได้ เช่น เซลล์ประสาทรับความรู้สึกผ่านไปทางแอกซอน และแอกซอนนี้จะปล่อยสารเคมี คือ สารสื่อประสาทจากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง โดยที่เยื่อเซลล์ประสาทตัวรับจะมีสารโปรตีน ซึ่งเป็นตัวรับสารสื่อประสาทได้ จึงตอบสนองได้ นอกจากนี้ การสื่อสารของเซลล์ที่เป็นผลของฮอร์โมนก็สามารถสื่อสารกันได้ โดยเซลล์ที่ผลิตฮอร์โมน เช่น ต่อมไร้ท่อต่าง ๆ จะปล่อยฮอร์โมนไปตามกระแสเลือด มื่อถึงเซลล์ของอวัยวะเป้าหมายก็สามารถตอบสนองการกระตุ้นนั้นได้ เช่น การทำงานของฮอร์โมนจากต่อมพิทูอิทารีไปกระตุ้นการเจริญของไข่ในรังไข่ได้ ในพืชก็มีการสื่อสารเช่นกัน ฮอร์โมนพืชจะลำเลียงจากตำแหน่งที่สร้างไปกับน้ำทางท่อน้ำหรือไปกับอาหารทางท่ออาหาร แต่ส่วนใหญ่แล้วลำเลียงจากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่งโดยตรง แต่บางครั้งก็สามารถลำเลียงไปทางอากาศได้ เช่น เอทิลีน ซึ่งจะกระตุ้นให้ผลไม้สุกได้เร็วขึ้นจะเห็นได้ว่าทั้งเซลล์สัตว์และเซลล์พืช รวมทั้งเซลล์ของจุลินทรีย์ก็สามารถสื่อสารกันได้ ซึ่งการสื่อสารนี้จะมีอยู่ 3 ขั้นตอน คือ การรับสัญญาณ (reception) การส่งสัญญาณ (signal transduction) และ การตอบสนอง (response)


1.การรับสัญญาณ ประกอบด้วยเซลล์ของอวัยวะเป้าหมายรับสัญญาณจากภายนอกเซลล์ โดยอาจจะเกิดจากโปรตีนที่เยื่อเซลล์รับสัมผัสสารที่มากระตุ้น หรือโปรตีนภายในเซลล์รับสัญญาณการกระตุ้น เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อไป

2.การส่งสัญญาณ เมื่อเซลล์ได้รับสัญญาณการกระตุ้นแล้ว จะแปลผลสัญญาณการกระตุ้นแล้วเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ มาก ซึ่งผลของสัญญาณการกระตุ้นนี้ อามีขั้นตอนเดียว หรือหลายขั้นตอนที่สลับซับซ้อน แต่เซลล์ของอวัยวะเป้าหมายก็สามารถรับรู้ได้

3.การตอบสนอง เป็นขั้นตอนที่เซลล์ของอวัยวะเป้าหมาย แสดงผลของการเปลี่ยนแปลงตามสัญญาณที่ถูกกระตุ้น เช่น การสังเคราะห์โปรตีน การเร่งนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ การแบ่งเซลล์ การยินยอมให้สารผ่านเข้าออกจากเซลล์มากยิ่งขึ้น เป็นต้น จะเห็นได้ว่าเซลล์แต่ละเซลล์จะมีกิจกรรมต่าง ๆ แตกต่างกัน แสดงว่าการตอบสนองของเซลล์แตกต่างกัน อันเป็นผลจากการส่งสัญญาณและการรับสัญญาณที่แตกต่างกัน เซลล์ชนิดหนึ่งจะตอบสนองต่อสารเคมีที่มากระตุ้นอย่างหนึ่ง แต่จะไม่ตอบสนองต่อสารเคมีตัวอื่น ทั้งนี้เนื่องจากโปรตีนตัวรับของเซลล์แตกต่างกัน


การแบ่งเซลล์

ในสิ่งมีชีวิตพวกยูคาริโอต การแบ่งเซลล์จะประกอบด้วยกระบวนการแบ่งนิวเคลียสและการแบ่งไซโทพลาซึม กระบวนการแบ่งนิวเคลียสมี 2 แบบ คือ

การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส (mitosis)

การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส (meiosis)


การเปลี่ยนสภาพของเซลล์และการชราภาพของเซลล์






เซลล์เมื่อแบ่งตัวแล้วก็จะเปลี่ยนสภาพไป เพื่อทำหน้าที่เฉพาะอย่าง การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส ทำให้ได้จำนวนเซลล์เพิ่มมากขึ้น และเป็นผลให้เกิดการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ซึ่งตามปกติแล้วจะเกิดกระบวนการต่าง ๆ 4 กระบวนการ คือ

1.การเพิ่มจำนวนเซลล์ (cell multiplication) ในสิ่งมีชีวิตที่เป็นเซลล์เดียว เมื่อมีการแบ่งเซลล์ เพื่อเพิ่มจำรนวนเซลล์ก็จะทำให้เกิดการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศขึ้น ส่วนในพวกสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ เมื่อเกิดปฏิสนธิแล้ว เซลล์ที่ได้ก็ คือ ไซโกต ซึ่งจะมีการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส เพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ให้มากขึ้น ผลจากการเพิ่มจำนวนเซลล์ทำให้ได้เซลล์ใหม่มากขึ้น และมีขนาดเพิ่มขึ้น การจะมีเซลล์มากน้อยแค่ไหนก็แล้วแต่ชนิดของสิ่งมีชีวิตนั้นว่ามีขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่เท่าใด

2.การเจริญเติบโต (growth) ในสิ่งมีชีวิตที่เป็นเซลล์เดียว การเพิ่มของโพรโทพลาซึมก็จัดว่า เป็นการเจริญเติบโต เมื่อเซลล์ของสิ่งมีชีวิตแบ่งเซลล์ในตอนแรกเซลล์ใหม่ที่ได้จะมีขนาดเล็กกว่าเซลล์เดิม ในเวลาต่อมาเซลล์ใหม่ที่ได้จะสร้างสารต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้นทำให้ขนาดของเซลล์ใหม่นั้นขยายขนาดขึ้น ซึ่งจัดเป็นการเจริญเติบโตด้วย ในสิ่งมีชีวิตพวกที่เป็นหลายเซลล์ ผลจากการเพิ่มจำนวนเซลล์ก็คือ การขยายขนาดให้ใหญ่โตขึ้น ซึ่งจัดเป็นการเจริญเติบโตด้วยเช่นกัน

3.การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ เพื่อไปทำหน้าที่ต่าง ๆ (cell differentiation) สิ่งมีชีวิตที่เป็นเซลล์เดียวก็มีการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ เพื่อไปทำหน้าที่ต่าง ๆ เหมือนกัน เช่น มีการสร้างเซลล์ที่ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ดี เช่น การสร้าง เอนโดสปอร์ (endospore) ของแบคทีเรียในพวกสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินก็มี เช่น การสร้างเซลล์พิเศษซึ่งเรียกว่า เฮเทอโรซิสต์ (heterocyst) มีผนังหนาและสามารถจับก๊าซไนโตรเจนในอากาศเปลี่ยนเป็นสารประกอบไนโตรเจนที่มีประโยชน์ต่อเซลล์ของสาหร่ายชนิดนั้น ๆ ได้ ในสิ่งมีชีวิตที่มีการสืบพันธุ์แบบมีเพศ เมื่อไข่และสเปิร์มผสมกันก็จะได้เซลล์ใหม่ คือ ไซโกต ซึ่งมีเพียงเซลล์เดียว ต่อมาไซโกตจะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนเซลล์ให้มากขึ้น เซลล์ใหม่ ๆ ที่ได้จะเปลี่ยนแปลงไป เพื่อไปทำหน้าที่ต่าง ๆ กัน เช่น เซลล์กล้ามเนื้อ ทำหน้าที่ในการหดตัว ทำให้เกิดการเคลื่อนที่หรือเคลื่อนไหว เซลล์เม็ดเลือดแดง ทำหน้าที่ลำเลียงก๊าซออกซิเจน เซลล์ประสาททำหน้าที่ในการนำกระแสประสาทเกี่ยวกับความรู้สึก และคำสั่งต่าง ๆ เซลล์ต่อมไร้ท่อ ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน เป็นต้น จะเห็นได้ว่าเซลล์ภายในร่างการของเราจะเริ่มต้นมาจากเซลล์เซลล์เดียวกัน แต่มีการเปลี่ยนแปลงไป เพื่อทำหน้าที่ต่าง ๆ กันไป เพื่อให้สิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ๆ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ กันได้

4.การเกิดรูปร่างที่แน่นอน (morphogenesis) เป็นผลจากการเพิ่มจำนวนเซลล์การเจริญเติบโต การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ เพื่อทำหน้าที่ต่าง ๆ ขบวนการเหล่านี้จะเกิดขึ้นในระยะเอมบริโออยู่ตลอดเวลาที่มีการสร้างอวัยวะต่าง ๆ ขึ้น อัตราเร็วของการสร้างในแต่ละแห่งบนร่างกายจะไม่เท่ากัน ทำให้เกิดรูปร่างของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดขึ้น โดยที่สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมีแบบแผนและลักษณะต่าง ๆ เป็นแบบที่เฉพาะตัว และไม่เหมือนกับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ ลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็นลักษณะทางพันธุกรรม ซึ่งถูกควบคุมโดยจีนบนโครโมโซมของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ๆ



บทที่ 2 การศึกษาชีววิทยา

การศึกษาชีววิทยา
ชีววิทยาเป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่ง ดังนั้นการศึกษาชีววิทยาจึงต้องอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific method) ซึ่งเป็นเครื่องมือในการสืบเสาะหาความรู้ต่างๆ ในธรรมชาติของนักวิทยาศาสตร์ (Scientist) หรือนักชีววิทยา (biologist) เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซึ่งจะเป็นประโยชน์ ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบันและอนาคตต่อไป

วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific method)
1. การตั้งสมมติฐานสมมติฐานได้มาจากไหน? ได้มาจากการตั้งปัญหาปัญหาได้มาจากไหน? ได้มาจากการสังเกตการสังเกตเป็นทักษะสำคัญที่นำไปสู่การค้นพบปัญหา ทักษะการสังเกตจึงเป็นทักษะที่สำคัญของนักวิทยาศาสตร์ปัญหา (Problem) เกิดจากการสงสัยที่ได้จากการสังเกตปรากฏการณ์ และข้อเท็จจริงต่างๆ ที่เกิดขึ้น การคิดหาคำตอบที่อาจเป็นไปได้ของปัญหา เรียกว่า การตั้งสมมติฐาน สมมติฐาน (Hypothesis) คือ คำตอบหรือคำอธิบายที่เป็นไปได้ของปัญหาใดๆการตั้งสมมติฐานอาจใช้คำว่า ถ้า (อ้างอิงปัญหา) ดังนั้น (แนะลู่ทางการตรวจสอบสมมติฐาน)สมมติฐานที่ดี ควรจะ- กะทัดรัด ชัดเจน เข้าใจง่าย- แนะช่องทางตรวจสอบสมมติฐาน มีความสัมพันธ์กับปัญหาและข้อเท็จจริงที่รวบรวมได้จากการสังเกต

2. การตรวจสอบสมมติฐานเป็นการตรวจสอบว่าสมมติฐานถูกต้องหรือไม่ อาจทำได้หลายวิธี คือ- การรวบรวมข้อเท็จจริงจากการสังเกตปรากฏการณ์ในธรรมชาติโดยตรง- การศึกษาค้นคว้ารวบรวมจากเอกสารหรือผลงานวิจัยต่างๆที่มีผู้อื่นศึกษามาก่อน- การทดลอง (Experiment) นิยมใช้กันมากที่สุดในทางวิทยาศาสตร์ โดยมีการวางแผนหรืออกแบบการทดลองอย่างรอบคอบรัดกุม เพื่อให้ผลการทดลองเป็นที่ยอมรับได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการควบคุมปัจจัย ซึ่งอาจมีผลต่อการทดลอง คือ ตัวแปร มีอยู่ 3 ชนิด คือ
1. ตัวแปรต้นหรือตัวแปรอิสระ หมายถึง ตัวแปรที่ต้องการศึกษา
2. ตัวแปรตาม หมายถึง ตัวแปรที่เป็นผลซึ่งเกิดจากตัวแปรต้น
3. ตัวแปรควบคุม หมายถึง ตัวแปรอื่นๆที่อาจมีผลต่อการทดลอง และไม่ต้องการศึกษาผลของตัวแปรเหล่านี้จึงต้องควบคุมให้คงที่

3. การเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการนำข้อมูลจาการทดลองมาหาความสัมพันธ์กันเพื่ออธิบายว่ามีความเป็นไปได้ตามสมมติฐานหรือไม่

4. การสรุปผลการทดลองเมื่อเก็บข้อมูลแล้วจึงแปลผล และสรุปผลการทดลองเพื่อเป็นคำตอบของปัญหาต่อไปทฤษฎี (Theory) คือ สมมติฐานที่ได้รับการตรวจสอบและทดลองหลายครั้ง จนสามารถอธิบายข้อเท็จจริงอื่นๆ ที่คล้ายกันได้ ทฤษฎีอาจเปลี่ยนแปลงได้หากได้รับข้อมูลหรือข้อเท็จจริงใหม่ๆ เพิ่มขึ้น เช่น ทฤษฎีเซลล์ ทฤษฎีวิวัฒนาการ ทฤษฎีการคัดเลือกตามธรรมชาติกฎ (Law) คือ ความจริงพื้นฐาน สามารถทดลอบได้และได้ผลเหมือนเดิมทุกครั้งโดยไม่มีข้อโต้แย้ง เช่น กฎของเมนเดล กฎความทนของเชลฟอร์ด

กล้องจุลทรรศน์

ความหมายของกล้องจุลทรรศน์

กล้องจุลทรรศน์เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการศึกษาชีววิทยาและช่วยให้เรามองเห็นในสิ่งที่เล็กมากๆ อีกด้วยกล้องจุลทรรศน์ ( Microscope ) คือ เครื่องมือขยายขอบเขตของประสาทสัมผัสทางตา ให้เห็นสิ่งที่ไม่สามารถเห็นด้วยตาเปล่า เช่น จุลินทรีย์ เซลล์เม็ดเลือด เป็นต้น

ประโยชน์ของกล้องจุลทรรศน์

1. ช่วยในการมองเห็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กกว่าตาเราจะมองเห็น
2. ช่วยในการศึกษาหาข้อมูลหลักฐานทางชีววิทยา

หลักการการทำงานของกล้องจุลทรรศน์

กล้องจุลทรรศน์เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการมองวัตถุที่มีขนาดเล็ก ซึ่งเป็นเครื่องช่วยตาในการศึกษาลักษณะโครงสร้างของเซลล์ให้ละเอียดยิ่งขึ้น ซึ่งกล้องจุลทรรศน์มีความสามารถขยาย (magnification) ได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความสามารถในการแจกแจงรายละเอียด (Resolution / Resolving power) หมายถึงความสามารถของกล้องจุลทรรศน์ในการแยกจุดสองจุด ซึ่งอยู่ใกล้กันที่สุดให้มองเห็น แยกเป็นสองจุดได้ (Two points of discrimination) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ- ความยาวคลื่นแสงที่ส่องผ่านเลนส์ ซึ่งถ้าแสงมีความยาวคลื่นที่สั้น จะช่วยเพิ่ม resolving power - ความสามารถในการรวมแสงของเลนส์วัตถุ (numerical aperture of objective lens / NA) โดยที่ค่า NA ยิ่งมากภาพที่ได้ก็จะยิ่งคมชัดมากขึ้นตาม

ประเภทของกล้องจุลทรรศน์

ในปัจจุบันกล้องจุลทรรศน์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง
ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงแบบธรรมดาและแบบสเตอริโอ
2. กล้องจุลทรรศน์แบบอิเล็กตรอน
ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องผ่านและแบบส่องกราด

1. กล้องจุลทรรศน์แบบใช้แสง เป็นกล้องที่ได้รับการพัฒนาจากในอดีตอย่างมาก และใช้แสงที่ดีที่สุดในปัจจุบัน ที่มีกำลังขยายถึง 2,000 เท่าเลยที่เดียวเชียวและเป็นกล้องที่ราคาถูกสามารถใช้ในงานที่ละเอียดพอประมาณ แบ่งได้เป็น 2 ประเภทดังนี้

(1) กล้องจุลทรรศน์ที่ใช้แสงแบบธรรมดาประกอบด้วยเลนส์ 2 ชนิดคือ เลนส์ใกล้วัตถุและเลนส์ใกล้ตา โดยใช้แสงผ่านวัตถุแล้วขึ้นมาที่เลนส์จนเห็นภาพที่บนวัตถุอย่างชัดเจน



ส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์

1. ลำกล้อง (Body tube) เป็นส่วนที่เชื่อมโยงแยู่ระหว่างเลนส์ใกล้ตากับเลนส์ใกล้วัตถุ มีหน้าป้องกันไม่ให้แสงจากภายนอกรบกวน
2. แขน (Arm) คือส่วนที่ทำหน้าที่ยึดระหว่างส่วนลำกล้องกับฐาน เป็ยตำหน่งที่จับเวลายกกล้อง
3. แท่นวางวัตถุ (Speciment stsge) เป็นแท่นใช้วางแผ่นสไลด์ที่ต้องการศึกษา
4. ที่หนีบสไลด์ (Stage clip) ใช้หนีบสไลด์ให้ติดอยู่กับแท่นวางวัตถุ ในกล้องรุ่นหใม่จะมี Mechanical stage แทนเพื่อควบคุมการเลื่อนสไลด์ให้สะดวกขึ้น
5. ฐาน (Base) เป็นส่วนที่ใช้ในการตั้งกล้อง ทำหน้าที่รับน้ำหนักตัวกล้องทั้งหมด
6. กระจกเงา (Mirror) ทำหน้าที่สะท้อนแสงจากธรรมชาติหรือแสงจากหลอดไฟภายในห้องให้ส่องผ่านวัตถุโดยทั่วไปกระจกเงามี 2 ด้าน ด้านหนึ่งเป็นกระจกเงาเว้า อีกด้านเป็นกระจกเงาระนาบ สำหรับกล้องรุ่นใหม่จะใช้หลอดไฟเป็นแหล่งกำเนิดแสง ซึ่งสะดวกและชัดเจนกว่า
7. เลนส์รวมแสง (condenser) ทำหน้าที่รวมแสงให้เข้มขึ้นเพื่อส่งไปยังวัตถุที่ต้องการศึกษา
8. ไดอะแฟรม (diaphragm) อยู่ใต้เลนส์รวมแสงทำหน้าที่ปรับปริมาณแสงให้เข้าสู่เลนส์ในปริมาณที่ต้องการ
9.ปุ่มปรับภาพหยาบ (Coarse adjustment) ทำหน้าที่ปรับภาพโดยเปลี่ยนระยะโฟกัสของเลนส์ใกล้วัตถุ (เลื่อนลำกล้องหรือแท่นวางวัตถุขึ้นลง) เพื่อทำให้เห็นภาพชัดเจน
10. ปุ่มปรับภาพละเอียด (Fine adjustment) ทำหน้าที่ปรับภาพ ทำให้ได้ภาพที่ชัดเจนมากขึ้น
11. เลนส์ใกล้วัตถุ (Objective lens) จะติดอยู่กับจานหมุน (Revolving nose piece) ซึ่งจานหมุนนี้ทำหน้าที่ในการเปลี่ยนกำลังขยายของเลนส์ใกล้วัตถุ ตามปกติเลนส์ใกล้วัตถุมีกำลังขยาย 3-4 ระดับ คือ 4x 10x 40x 100x ภาพที่เกิดจากเลนส์ใกล้วัตถุเป็นภาพจริงหัวกลับ
12. เลนส์ใกล้ตา (Eye piece) เป็นเลนส์ที่อยู่บนสุดของลำกล้อง โดยทั่งไปมีกำลังขยาย 10x หรือ 15x ทำหน้าที่ขยายภาพที่ได้จากเลนส์ใกล้วัตถุให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ทำให้เกิดภาพที่ตาผู้ศึกษาสามารถมองเห็นได้ โดยภาพที่ได้เป็นภาพเสมือนหัวกลับ

การใช้กล้องจุลทรรศน์

1. การจับกล้อง ใช้มือหนึ่งจับที่แขนของกล้อง และใช้อีกมือหนึ่งรองรับที่ฐาน

2. ตั้งลำกล้องให้ตรงเสมอเพื่อป้องกันไม่ให้ส่วนประกอบต่างๆเลื่อนหลุดจากตำแหน่ง

3. หมุนเลนส์ใกล้วัตถุให้เป็นเลนส์ที่มีกำลังขยายต่ำสุดให้อยู่ในตำแหน่งแนวของลำกล้อง

4. ปรับกระจกเงา หรือเปิดไฟเพื่อให้แสงเข้าลำกล้องได้เต็มที่

5. นำแผ่นสไลด์ที่จะศึกษาวางบนแท่นวางวัตถุ ให้วัตถุอยู่บริเวณกึ่งกลางบริเวณที่แสงผ่าน

6. มองด้านข้างตามแนวระดับแท่นวางวัตถุ ค่อยๆหมุนปุ่มประบภาพหยาบให้เลนส์ใกล้วัตถุเลื่อนลงมาอยู่ใกล้ๆกระจกปิดสไลด์ (แต่ต้องระวังไม่ให้เลนส์กับสไลด์สัมผัสกัน เพราะจะทำให้ทั้งคู่แตกหักหรือเสียหายได้)

7. มองที่เลนส์ใกล้ตาค่อยๆปรับปุ่มปรับภาพหยาบให้กล้องเลื่อนขึ้นช้าๆ เพื่อหาระยะภาพ เมื่อได้ภาพแล้วให้หยุดหมุน ตรวจดูแสงว่ามากหรือน้อยเกินไปหรือไม่ ให้ปรับไดอะแฟรมเพื่อให้ได้แสงที่พอเหมาะ

8. มองที่เลนส์ใกล้ตาหมุนปุ่มปรับภาพละเอียดเพื่อให้ได้ภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ถ้าวัตถุที่ศึกษาไม่อยู่ตรงกลางให้เลื่อนแผ่นสไลด์เล็กน้อยจนเห็นวัตถุอยู่ตรงกลางพอดี

9. ถ้าต้องการให้ภาพขยายใหญ่ขึ้นก็หมุนเลนส์อันที่กำลังขยายสูงขึ้นเข้าสู่แนวลำกล้อง แล้วปรับความคมชัดด้วยปุ่มปรับภาพละเอียดเท่านั้น

10. บันทึกกำลังขยายโดยหาได้จากผลคูณดังที่กล่าวไว้แล้ว

11. หลังจากใช้กล้องจุลทรรศน์แล้ว ให้ปรับกระจกเงาให้อยู่ในแนวดิ่ง ตั้งฉากกับตัวกล้อง เลื่อนที่หนีบสไลด์ให้ตั้งฉากกับที่วางวัตถุ หมุนเลนส์ใกล้วัตถุให้เป็นอันที่มีกำลังขยายต่ำสุดอยู่ในตำแหน่งของลำกล้อง และเลื่อนลำกล้องให้อยู่ในตำแหน่งต่ำสุด เช็ดทำความสะอาดส่วนที่เป็นโลหะด้วยผ้านุ่มๆและสะอาด แล้วจึงนำกล้องเข้าเก็บในตำแหน่งที่เก็บกล้อง

กำลังขยายเราสามารถคำนวณกำลังขยายของกล้องได้โดย กำลังขยายของเลนส์ใกล้ตา x กำลังขยายของเลนส์ใกล้วัตถุ

(2) กล้องที่ใช้แสงแบบสเตอริโอเป็นกล้องที่ประกอบด้วยเลนส์ที่ทำให้เกิดภาพแบบ 3 มิติใช้ศึกษาวัตถุที่มีขนาดใหญ่แต่ตาเปล่าไม่สามารถแยกรายละเอียดได้จึงต้องใช้กล้องชนิดนี้ช่วยขยาย กล้องชนิดนี้มีข้อแตกต่างจากกล้องทั่วๆไป คือ
1. ภาพที่เห็นเป็นภาพเสมือนมีความชัดลึกและเป็นภาพสามมิติ

2. เลนส์ใกล้วัตถุมีกำลังขยายต่ำ คือ น้อยกว่า 1 เท่า

3. ใช้ศึกษาได้ทั้งวัตถุโปร่งแสงและวัตถุทึบแสง

4. ระยะห่างจากเลนส์ใกล้วัตถุกับวัตถุที่ศึกษาอยู่ในช่วง 63-225 มิลลิเมตร

วิธีใช้กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงแบบสเตอริโอ

1. ตั้งระยะห่างของเลนส์ใกล้ตาให้พอเหมาะกับนัยน์ตาของผู้ใช้กล้องทั้งสองข้าง จะทำให้จอภาพที่เห็นอยู่ในวงเดียวกัน

2. ปรับโฟกัสเลนส์ใกล้ตาทีละข้างจนชัดเจน ถ้าหากต้องการศึกษาจุดใดจุดหนึ่งของตัวอย่างให้ปรับโฟกัสของเลนส์ใกล้วัตถุที่มีกำลังขยายสูงก่อน เพราะจะทำให้เห็นภาพวัตถุได้ชัดเจนทั้งกำลังขยายสูงและกำลังขยายต่ำ

การบำรุงรักษากล้อง

1. ควรดูแลรักษากล้องให้สะอาดอยู่เสมอ และเมื่อไม่ได้ใช้กล้องควรใช้ถุงคลุมกล้องไว้เสมอ เพื่อป้องกันฝุ่นละอองและสิ่งสกปรกเข้าไปสัมผัสกับเลนส์ของกล้อง

2. ในการทำความสะอาดหรือการประกอบกล้อง ควรทำด้วยความระมัดระวัง อย่าให้ชิ้นส่วนถูกกระแทกหรือหลุดตกหล่น กรณีที่กล้องหรือส่วนประกอบใดๆของกล้องตกหรือกระแทก จะมีผลให้เมื่อประกอบกล้องแล้วภาพที่เห็นไม่คมชัด เป็นเพราะระบบภายใน (ปริซึม) อาจเกิดการคลาดเคลื่อนได้ ซึ่งกรณีนี้ ควรส่งให้กับบริษัทซ่อม เพราะการตั้งศูนย์ของปริซึมและระบบเลนส์ภายในนั้นต้องใช้เครื่องมือที่ซับซ้อนและความชำนาญของช่าง

3. ห้ามใช้มือหรือส่วนใดๆของร่างกาย สัมผัสถูกส่วนที่เป็นเลนส์ และหลีกเลี่ยงการนำเลนส์ออกจากตัวกล้อง

4. ในกรณีที่ถอดเลนส์ออกจากตัวกล้อง ควรใช้ฝาครอบด้วยทุกครั้งเพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นละอองเข้าไปข้างใน ซึ่งอาจทำให้เกิดความไม่ชัดของการมองภาพ

5 สำหรับเลนส์ใกล้วัตถุ 100x ที่ใช้กับ Oil immersion หลังจากใช้แล้ว ควรทำความสะอาดทุกครั้ง โดยการเช็ดด้วยกระดาษเช็ดเลนส์ cotton bud หรือผ้าขาวบางที่สะอาด และนุ่ม ชุบด้วยน้ำยาไซลีน หรือส่วนผสมของแอลกอฮอล์และอีเทอร์ ในอัตราส่วน 40:60 ตามลำดับ

6 ควรหมุนปรับปุ่มปรับความฝืดเบาให้พอดี ไม่หลวมเกินไป ซึ่งจะทำให้แท่นวางสไลด์เลื่อนหมุดลงมาได้ง่าย หรือฝืดจนเกินไปทำให้การทำงานช้าลง

7 ปุ่มปรับภาพหยาบนั้น ควรหมุนในลักษณะทวนเข็มนาฬิกาอย่างช้าๆ จนกว่าจะได้ภาพ ห้ามปรับปุ่มปรับภาพทั้งซ้ายและขวาของตัวกล้องในลักษณะสวนทางกัน เพราะนอกจากจะไม่ได้ภาพตามต้องการแล้ว ยังจะทำให้เกิดการขัดข้องของฟันเฟือง

8 ในกรณีต้องการใช้แสงมากๆควรใช้การปรับไดอะแฟรม แทนการปรับเร่งไฟไปตำแหน่งที่กำลังแสงสว่างสุด (กรณีหลอดไฟ) จะทำให้หลอดไฟมีอายุยาวขึ้น

9 ก่อนปิดสวิตช์ไฟทุกครั้งควรหรี่ไฟก่อนเพื่อยืดอายุการใช้งาน และเมื่อเลิกใช้ก็ควรปิดสวิตช์ทุกครั้ง

10 การเสียบปลั๊กไฟของตัวกล้องไม่ควรใช้รวมกันกับเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น เพราะจะทำให้หลอดไฟขาดง่าย

11 หลังจากเช็ดส่วนใดๆของกล้องก็ตาม ถ้าไม่แน่ใจว่าแห้งหรือปราศจากความชื้นแล้ว ควรเป่าลมให้แห้ง โดยใช้พัดลม หรือ ลูกยางเป่าลม (ห้ามเป่าด้วยปากเพราะจะมีความชื้น)

12 เมื่อแน่ใจว่าแห้งและสะอาดแล้ว จึงคลุมด้วยถุงพลาสติก

13 เก็บกล้องไว้ในที่ที่ค่อนข้างแห้งและไม่มีความชื้น

การทำความสะอาดเลนส์

1. เป่าหรือปัดเศษผงหรือวัสดุอื่นๆที่อาจจะก่อให้เกิดรอยขูดขีดบนพื้นผิวเลนส์ โดยใช้ลูกยางบีบ หรือปัดด้วยแปรงขนอ่อนๆ แต่ถ้ายังไม่สามารถเอาออกได้ให้ใช้ผ้าขาวบางที่สะอาดและนุ่มชุบด้วยน้ำเช็ดเบาๆ

2. เตรียมน้ำยาเช็ดเลนส์ (อีเทอร์:แอลกอฮอล์ = 60:40)

3. ทำความสะอาดทั้งเลนส์ใกล้ตา และเลนส์ใกล้วัตถุ ใช้ cotton bud หรือ กระดาษเช็ดเลนส์พันรอบปลายคีบ แล้วชุบด้วยน้ำยาเช็ดเลนส์เพียงเล็กน้อย แล้วจึงเริ่มเช็ดเลนส์จากจุดศูนย์กลางของเลนส์แล้วหมุนทำรัศมีกว้างขึ้นเรื่อยๆไปสู่ขอบเลนส์อย่างช้าๆ

4. ในการใช้น้ำยาเช็ดเลนส์ต้องระวังด้วยว่าน้ำยานั้นสามารถละลายสีของกล้องและละลายกาวของเลนส์ได้

5. ในการผสมน้ำยาเช็ดเลนส์อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามอุณหภูมิและความชื้น หากอีเทอร์มากเกินไปอาจทำให้มีรอยการเช็ดอยู่บนเลนส์ได้ แต่ถ้าแอลกอฮอล์มากเกินไปจะมีรอยเป็นคราบอยู่บนเลนส์เช่นกัน

2. กล้องจุลทรรศน์แบบอิเล็กตรอน


เป็นกล้องที่ใช้อิเล็กตรอนความถี่สูงให้การทำงานแทนแสง สามารถขยายได้ถึง 500,000 เท่า จนเห็นโมเลกุลที่อยู่ในโครงสร้างต่างๆได้เลย แต่ด้วยความสามารถขยายที่สูงราคาจึงสูงตาม

(1) กล้องอิเล็กตรอนแบบส่องผ่าน (Transmission electron microscope) เรียกย่อว่า TEM เอิร์น รุสกา สร้าวได้เป็นคนแรก เมื่อปี พ.ศ. 2475 ใช้ในการศึกษาโครงสร้างภายในเซลล์โดยลำแสงอิเล็กตรอนจะส่องผ่านเซลล์หรือตัวอย่างที่ศึกษา ซึ่งต้องมีการเตรียมแบบพิเศษและบางเป็นพิเศษด้วย

(2) กล้องอิเล็กตรอนแบบส่องกราด (Scanning electron microscope) เรียกย่อว่า SEM เอ็ม วอน เอนเดนนี สร้างสำเร็จเมื่อปี พ.ศ. 2481 โดยใช้ศึกษาผิวของเซลล์หรือผิวของวัตถุที่นำมาศึกษา โดนลำแสงอิเล็กตรอนจะส่องกราดไปบนผิววัตถุ ทำให้ได้ภาพซึ่งมีลักษณะเป็นภาพ 3 มิติ